The ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเป็นนวัตกรโดยใช้กระบวนการสตรีมโฟร์อินโนเวเตอร์ วิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษา คือ นวัตกรรม ที่มีบทบาทสำคัญเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าด้วยการสร้างนวัตกรรมด้วยการส่งเสริมความเป็นนวัตกรของคนในชาติ ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนชั้นเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเป็นนวัตกรของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการสตรีมโฟร์อินโนเวเตอร์ กลุ่มเป้าหมายคือ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนจัดการเรียนด้วยกระบวนการสตรีมโฟร์อินโนเวเตอร์ แบบการสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน ใบงานกิจกรรม และแบบประเมินผลงาน สถิติที่ใช้คือ ความถี่ และ ร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า 1) นิสิตมีผลสัมฤทธิ์การเรียน ระดับดี (A B+ และ B) มากกว่าร้อยละ 50 2) ผลผลิตจากการเรียนของนิสิตทุกกลุ่ม (n=11) ผ่านเกณฑ์ทุกกลุ่ม และ 3) ผลการประเมินสมรรถนะนวัตกร ด้วยตนเองพบว่านิสิตเป็นผู้แสวงหานวัตกรรม ผู้กล้าคิดกล้าทำ ผู้คิดกลยุทธ์เชิงนวัตกรรมและคิดวิเคราะห์ ยกเว้นความสามารถในการเลือกกลวิธีการทำงาน
Article Details
References
ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 7(2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2560 http://e-jodil.stou.ac.th
[2] เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2562) การปาฐกถานำเรื่อง “การศึกษาคือนวัตกรรม” ในการประชุม
งานวิจัยมหาวิทยาลัย จัดโดย ฝ่ายวิชาการ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต ณ ห้อง
Auditorium ชั้น 2 อาคาร 15 วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556.
[3] สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562) STEAM4INNOVATOR. กรุงเทพฯ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี
[4] บุหงา วชิระศักดิ์มงคล และ สุภาณี เส็งศรี. (2557) บทบาทครูยุคดิจิทัล. เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563
https://www.slideshare.net/kruduangnapa/ss-42863725
[5] ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ (2562) หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต
สาขาคอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุง 2562 (หลักสูตร 4 ปี) เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563
จาก http://www.edu.nu.ac.th/th/
[6] Allen, Michael. (2020) The Successive Approximation Model ― SAM.
Retrieved 24 May 2020 from https://www.alleninteractions.com/sam-process
[7] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559) แผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2560 -2579 http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-
79.pdf เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562
[8] Michelle, Rogers and Kelly, Keck. (2015) Instructional Design Considerations & Approaches.
Retrieved 24 May 2020 from https://www.youtube.com/watch?v=1h2iREzXAxU
[9] พัชรพร อยู่ยืน, อภิญญา ภูมิโอตา และ ศิระ ศรีโยธิน, (2560) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นนวัตกร:
กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ PUNN. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะ
ครั้งที่ 4 “การบริหารกิจการสาธารณะภายใต้ประเทศไทย 4.0” The 4th National
Conference on Public Affairs Management “Public Affairs Management Under
Thailand 4.0” 4 สิงหาคม 2560 ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
[10] Wisetsat, Channarong and Nuangchalerm, Prasart (2019) “Synthesis of Innovative Thinking
Skills of Pre-Service Teachers. Journal of Education”. Rajabhat Maha Sarakham
University. 16: 1 (30) January - June 2019. P. 451 – 464.
[11] ประเวศ วะสี. (2537). การพัฒนาการศึกษาในอนาคต ในแนวทางการพัฒนาการศกษาในอนาคต .
กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ