แนวทาง แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า

Main Article Content

จุรี ทัพวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ) ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า 2) สร้างแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า 3) ทดลองใช้และประเมินผลการใช้แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 45 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ตอนที่ 2 สนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ตอนที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 40 คน สถานประกอบการ ชุมชน จำนวน 45 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้เรียน จำนวน 221 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมิน แบบรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า             


  1. สภาพการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และจากการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ พบว่า ควรดำเนินการ ด้านกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเครือข่าย ด้านกระบวนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ ด้านขอบข่ายการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ และด้านการติดตามประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ

  2. สร้างแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 2) กระบวนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 3) ขอบข่ายการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 4) การติดตามประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ อยู่ในระดับมากที่สุด

  3. ผลการทดลองใช้และประเมินผลแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า ดังนี้

           3.1 ผลการนำไปทดลองใช้ โดยดำเนินการใน 4 องค์ประกอบ (4 โครงการ) ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 2) กระบวนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 3) ขอบข่ายการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 4) การติดตามประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินผลสัมฤทธิ์เกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ภาพรวมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.40


             3.2 การประเมินผลแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า พบว่า


                  3.2.1 คุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ดังนี้ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ภาพรวมร้อยละ 88.03 2) ด้านความรู้ ภาพรวมร้อยละ 82.52 3) ด้านทักษะ ภาพรวมร้อยละ 89.97 และ 4) ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ ภาพรวมร้อยละ 83.17


                  3.2.2 การมีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระของผู้สำเร็จการศึกษา พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ คิดเป็นร้อยละ 95.92


                  3.2.3 จำนวนเครือข่ายความร่วมมือจากสถานประกอบการและชุมชนเพิ่มขึ้นหลังการสร้างแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้สำเร็จ จำนวน 28 เครือข่าย


                   3.2.4 ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน สถานประกอบการและชุมชนที่มีต่อแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก


คำสำคัญ : แนวทางการพัฒนา/เครือข่ายความร่วมมือ/คุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา/กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา


              แห่งชาติ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สรัญญา จุฑานิล. (2556). การบริหารเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
[2} วิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า (2560). รายงานการประเมินคุณภาพภายใน วิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า. ฝ่ายแผนงานและ
ความร่วมมือ วิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า.
[3] Deming, W. Edwards. (1986). Out of the Crisis. MIT Press.
[4] จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ:
อรุณการพิมพ์.
[5] ชาญชัย อาจินสมาจารย์. (2557). การออกแบบและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: เอส. พี. เอ. เจริญผล.
[6] บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[7] อุดมสิน คันธภูมิ. (2558). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียน
ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[8] พิณสุดา สิริธรังศรี. (2558). รายงานการวิจัยและพัฒนาเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
[9] Crowther, J. (1996). Oxford Advanced Learner’ Dictionary. 5th ed. NY: Oxford University.
[10] Keeves, P.J. (1998). Educational research, methodology, and measurement : An international
handbook. Oxford: Pergamon Press.
[11] Callan, V. and Ashworth, P. (2004). Working Together: Industry and VET Provider Training
Partnerships. Retrieved April 30, 2020, from http://sss.ncver.edu.au
[12] ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม
136 คอนพิเศษ 56 ง : 9-11.