การพัฒนารูปแบบการบริหารวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

Main Article Content

พิชเชฎฐ์ สุคนธ์

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหารวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหารูปแบบการบริหารวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสำรวจ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปและสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหารูปแบบการบริหารวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยภาพรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง

2.ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาพบว่ามี 11 องค์ประกอบคือ 1) การบริหาร 2) ภาวะผู้นำ 3) การพัฒนาหลักสูตร 4) การจัดการเรียนการสอน 5) การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 6) การพัฒนาผู้เรียน 7) คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมร่วม 8) การมีส่วนร่วมและเครือข่ายความร่วมมือ 9) การจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ 10) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและ 11) การประกันคุณภาพการศึกษา


  1. 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาพบว่า ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2563 มีผลการประเมินโดยภาพรวมเท่ากับ 83.51 ซึ่งสูงกว่าปีการศึกษา 2562 ที่มีผลการประเมินโดยภาพรวมเท่ากับ 76.60 และปีการศึกษา2561ที่มีผลการประเมินโดยภาพรวมเท่ากับ 80.10 ตามลำดับ

  2. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมมีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-
2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
[2] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นจาก http://www.vec.go.th.
[3] ภารดี อนันต์วี. (2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: ภาควิชาบริหาร
การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
[4] ประวิทย์ ไชยรักษ์. (2556). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ2.ครุศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
[5] วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง. (2562). รายงานการประเมินตนเองวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ประจำปีการศึกษา 2561 (SAR). กรุงเทพฯ: ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ.
[6] ทัศพร ปูมสีดา. (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา.ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตบริหารการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[7] ชูซีพ อรัญวงศ์. (2551). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนระหานวิทยา อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานการวิจัย โรงเรียนระหานวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41.
[8] กานต์ เนตรกลาง. (2562). ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต2. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
[9] พัทธพงศ์ แก้วละเอียด. (2558). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2ด้วย PATTA MODEL. รายงานการวิจัย โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์.
[10] จักรพันธ์ ชัยทัศน์. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. การศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.