การประเมินโครงการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรมNEW GROWTH ENGINE ตามนโยบายไทยแลนด์4.0 สาขาวิชาช่างอากาศยานวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม NEW GROWTH ENGINE ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สาขาวิชาช่างอากาศยานวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมินโครงการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรมNEW GROWTH ENGINE ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สาขาวิชาช่างอากาศยานวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และ2) จัดทำข้อเสนอแนวทางพัฒนาการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรมNEW GROWTH ENGINE ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สาขาวิชาช่างอากาศยานวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาช่างอากาศยานวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปและสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการวิจัย พบว่า
- ผลการประเมินโครงการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรมNEW GROWTH ENGINE ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สาขาวิชาช่างอากาศยานวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน และ 4) ด้านผลผลิต แบ่งเป็น 3 ด้านพบว่า 4.1) นักศึกษา สาขาวิชาช่างอากาศยาน มีความรู้ และทักษะด้านช่างอากาศยานตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ4.2) ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา สาขาวิชาช่างอากาศยาน ด้านทักษะวิชาชีพและทักษะภาษาอังกฤษสำหรับช่างอากาศยานตามเกณฑ์ที่กำหนด 4.3) สถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อนักศึกษา สาขาวิชาช่างอากาศยาน ที่ออกฝึกอาชีพก่อนสำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับมาก
- ผลการจัดทำข้อเสนอแนวทางพัฒนาการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม NEW GROWTH ENGINE ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สาขาวิชาช่างอากาศยานวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง พบว่า ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการ ด้านการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกันและด้านการพัฒนาบุคลากรให้มากยิ่งขึ้น
Article Details
References
[2]สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นจาก http://www.vec.go.th.
[3]คณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้านช่างอากาศยาน พ.ศ. (2562-2568). สืบค้นจากhttps://www.tpqi.go.th/ downloadFile.php?WP=qUqcMUuCpWOghKstGREgFJqeqPMcZatmpQIgZKqCGWOghJstqREcFKuw.
[4] Stufflebeam. D. L. & Shinkfield, A. J. (1990). Systematic Evaluation. Boston: Kluwer Nijhoff.
[5] เมธา ณ พิกุล. (2557). การประเมินโครงการฝึกวิชาชีพสำหรับทหารกองประจำการมณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
การบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
[6] สุมาลัย บุญรักษา. (2562).การประเมินโครงการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต23 จังหวัดสกลนคร.
[7] ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. (2559). การประเมินโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพสมรรถนะพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ภายใต้ระบบพี่เลี้ยงด้วยรูปแบบการประเมิน CIPPIEST.ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[8] พิรญาณ์ โคตรชมพู. (2553).การประเมินโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานห้องสมุดเรือนจำ กรมราชทัณฑ์. วารสารรามคำแหง, 28(3): 776.
[9] สุคนธ์ทิพย์รื่นเริงใจ. (2558).แนวทางการพัฒนากำลังคนระดับอาชีวศึกษาของสาขาอาชีพมัคคุเทศก์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน.ครุศาสตรมหาบัณฑิตพัฒนศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[10] ธิติมา เสาวยงค์.(2559). แนวโน้มการพัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษาประเภทวิชาพาณิชยกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ภาคเหนือตอนล่างเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร.