การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่ง สำหรับการอาชีวศึกษา The Development of Learning Management System for U-Learning to the Vocational Education
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบ ยูเลิร์นนิ่ง เพื่อการอาชีวศึกษา มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่ง สำหรับการอาชีวศึกษา 2)เพื่อประเมินความเหมาะสมระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่ง สำหรับการอาชีวศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้กำหนดการพัฒนาระบบ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัญหา 2)วิเคราะห์ความต้องการ 3) ออกแบบระบบ 4) การพัฒนาระบบ 5) การทดสอบระบบ 6) การประเมินความเหมาะของระบบ และ7)การนำไปใช้จริง กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ผู้สอนระดับปริญญาตรี สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก จำนวนทั้งหมด 45 คน
จากผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งสำหรับการอาชีวศึกษา มีองค์ประกอบ 5 ระบบย่อยได้แก่ 1) ระบบจัดการหลักสูตร 2) ระบบการสร้างบทเรียน 3) ระบบการทดสอบและประเมินผล 4)ระบบสื่อสาร และ5) ระบบจัดการข้อมูล มีผลการประเมินความเหมาะสมระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่ง สำหรับการอาชีวศึกษา ของผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52)
คำสำคัญ : ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ ยูเลิร์นนิ่ง การอาชีวศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
[2] จารุมน หนูคง และณมน จีรังสุวรรณ. (2558). การออกแบบรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับการสอนแบบ MOOC เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม–มิถุนายน : หน้า 105-113.
[3] Honey, P. and A. Mumford. (1986). Using Your Learning Styles. Maidenhead : Peter Honey.
[4] Kolb, D.A. (1984). Experiential Learning : Experience as The Source of Learning and Development. Englewood Cliffs. New Jersey : Prentice-Hall.
[5] Ellis, R. (1985). “Effects of Teaching Approach on Achievement, Retention and Problem Solving Ability lf Illinois Agricultural Education Students with Varying Learning Styles”. Dissertation Abstracts International. 9 March 1996 : 3419-A.