การจัดกิจกรรมการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ทางไกลโดยใช้กรณีศึกษา : การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 1 Distance Learning Interactive Activities Using a Case Study : Computer Programming for Education I

Main Article Content

Supanee Sengsri

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียน เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ทางไกลโดยใช้กรณีศึกษา : การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนและศึกษาพฤติกรรมการเรียนจากกิจกรรมการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ทางไกลโดยใช้กรณีศึกษาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 1  กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ที่ลงทะเบียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 1  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 39  คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนจัดกิจกรรมการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ทางไกลโดยใช้กรณีศึกษา  แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนทางไกล และ กรณีศึกษา  โดยมีตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น คือ การจัดกิจกรรมการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ทางไกลโดยใช้กรณีศึกษา ตัวแปรตาม คือ  ผลสัมฤทธิ์การเรียน และพฤติกรรมการเรียน ในช่วงเวลา ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม 2564  สถิติที่ใช้คือ ความถี่ และร้อยละ


             ผลการจัดกิจกรรมการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ทางไกลโดยใช้กรณีศึกษา : การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 1  พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ที่เรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ทางไกล มีองค์ความรู้ เจตคติ และความสามารถการโปรแกรม โดยมีผลการเรียนเป็นไปตามเป้าหมายที่ผู้เรียนกำหนดร่วมกัน  จำแนกเป็น A B+ B ร้อยละ 51.28 และ C+  C ร้อยละ 25.64 และ พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนแต่ละบุคคล มีลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน มีสัดส่วนมากน้อยตามวิถีชีวิตของตนเอง และตามวัตถุประสงค์การเรียนด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และ ทักษะพิสัย โดยทุกคนมีปฏิสัมพันธ์ 3 รูปแบบ คือ 1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหา 2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และ 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559) Education Reform & Entrance 4.0. สืบค้นจาก

https://www.moe.go.th/websm/2016/nov/461.html. เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564

ธนาคารกรุงเทพ. (2564) VUCA World ความไม่แน่นอนที่โลกเผชิญ. สืบค้นจาก

https://www.bangkokbanksme.com/en/vuca-world-the-uncertainty-facing-the-world

เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564

Moore, W.L. and Pessemier, E.A. (1993). Product Planning Management:

Designing and Delivering Value. Singapore: McGraw-Hill, Inc.

Langdon, G. (1973). Interactive Instructional Design. New Jersey: Educational Technology

Publications, Inc.

สุภาณี เส็งศรี. (2561) วิธีวิทยาการสอน:คอมพิวเตอร์ สาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สาระเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). พิษณุโลก : นวมิตรการพิมพ์.

Barnard, R., & Campbell, L. (2005). Sociocultural theory and the teaching of process

writing: The scaffolding of learning in a university context. The TESOLANZ

Journal, 13, 76-88.

Moore, K.D. (1992). Classroom teaching skills. New York: McGraw-Hill.

ประดินันท์ อุปรมัย. (2523). มนุษย์กับการเรียนรู้ ในเอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Swan, Kathleen Owings. (2004). Examining the Use of Technology in Supporting

Historical Thinking Practices in Three American History Classrooms.

Ph.D., Dissertation. University of Virginia. Publication Number AAT.

McIsaac, M. Stock and Gunawardena, C. Nirmalani. (2001) “Distance Education”

The Handbook of Research for Educational Communications and Technology.

Retrieved May 10,2021 from http://members.aect.org/edtech/ed1/13/13-04.html

อรพินท์ ธีระตระกูลชัย (2564) 4 C เพื่อการสื่อสารออนไลน์ช่วงสถานการณ์โควิด

สืบค้นจาก https://www.trainersunny.com เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564

Pieratt, Jennifer. (2020). 3 Practices to Teach 21st Century Skills in a Virtual

Classroom. Retrieved May 10,2021 from https://www.teachingchannel.com/

blog/teach-virtual-classroom?utm_source=newsletter20200404/

ภรณี ลัคนาภิเศรษฐ์ แปลและเรียบเรียง, (2563) แนวทาง สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ในห้องเรียน

ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/349.

เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564

Anderson, L W, & Krathwohl D R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and

Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives.

New York: Longman.

ประกอบ คุปรัตน์. (2537) “การเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา” วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย. 6 : 1 (2537) หน้า : 1-14

Montonen, Tero and Eriksson, Päivi. (2013) “Teaching and learning innovation practice:

a case study from Finland” Int. J. Human Resources Development and

Management. 13, (2/3, 2013) p.107-118

ทิศนา แขมมณี. (2552) ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2541). การพัฒนารูปแบบการสอนสำหรับวิชาวิธีสอนทั่วไปแบบเน้นกรณี

ตัวอย่าง เพื่อส่งเสริมความสามารถของนักศึกษาครูด้านการคิดวิเคราะห์แบบตอบโต้ในศาสตร์

ทางการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย เส็งศรี. (2555) ผลการจดบันทึกความรู้ของนิสิตที่มีต่อการเรียนรายวิชา 374471 Intelligent

Support for Education System. สืบค้นจาก

http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/401 เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564

ไพศาล หวังพานิช. (2526). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

วรชาติ อำไพ. (มปป.) การจดบันทึก. สืบค้นจาก

https://www.stou.ac.th/offices/oes/oespage/guide/download/4.การจดบันทึก.pdf

เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563.