การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWLH – Plus ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก Development of Reading Comprehension Skill for Mattayom 3 Students Using the KWLH – Plus Technique with Infographics

Main Article Content

Manatsanan Intajak

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWLH – Plus ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ KWLH – Plus ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWLH – Plus ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนโพธิธรรมสุวัฒน์ ปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญที่ใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWLH – Plus ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test แบบ dependent


                    ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWLH – Plus ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ มีประสิทธิภาพ 83.77/83.78 (E1/ E2) เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ KWLH – Plus ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWLH – Plus ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิกในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.45, S.D. = 0.46)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564). [ออนไลน์]. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561-2563. [สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564], จาก https://www.niets.or.th/th

วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สุภาณี เส็งศรี. (2561). วิธีวิทยาการสอนคอมพิวเตอร์ : สาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสาระเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). พิษณุโลก : นวมิตรการพิมพ์.

จงรัก เทศนา. (2558). [ออนไลน์]. การออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographics) learning studio. [สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564], จาก http://www.learningstudio.info/infographics-design

นฤมล ถิ่นวิรัตน์. (2555). อิทธิพลของอินโฟกราฟิกต่อการสื่อสารข้อมูลเชิงซ้อน กรณีศึกษาโครงการ “รู้ สู้ Flood”.วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์. ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อาศิรา พนาราม. (2561). [ออนไลน์]. Infographic เทรนมาแรงในสังคม “เครือข่ายนิยม”. [สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564], จาก http://www.tcdc.or.th

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1. 7-20.

ชลธิชา จันทร์แก้ว. (2549). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH Plus . วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ.ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มาริสา เหมันต์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน CIPPA ร่วมกับอินโฟกราฟิก. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย. ภาควิชาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มนตรี เกื้อทาน. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบคู่คิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสาวภา ช่วยแก้ว. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค KWLH PLUS. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรวรรณ อุดมสุข. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง กาพย์พระไชยสุริยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย. ภาควิชาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภานุพล โสมูล. (2561). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปาณิสรา ศิลาพล. (2559). ผลการใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พัชรา วาณิชวศิน. (2558). ศักยภาพของอินโฟกราฟิก (Infographic) ในการเพิ่มคุณภาพการเรียนรู้. วารสารปัญญาภิวัฒน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2. 227-240.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

บุศรา สวนสำราญ. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.