การประเมินโครงการการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย Evaluation of the Teaching Management Model of Online Learning and Teaching during the Corona Virus 2019 Pandemic at Chiang Rai Vocational college
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้นด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 112 คน ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพของสถานประกอบการที่จัดการเรียนการสอนร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 83 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 346 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ผู้ปกครอง จำนวน 100 คน ดำเนินการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบบันทึกข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
ผลการประเมินโครงการการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านกระบวนการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ด้านผลิต พบว่า 4.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตลอดหลักสูตรของผู้เรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.78 เปอร์เซ็นต์ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.32 4.2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก 4.3) ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อโครงการการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อยู่ในระดับมากที่สุด 4.4) ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในอาชีพของสถานประกอบการที่มีต่อโครงการฯ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4.5) ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการฯ พบว่า เป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียนและมีความยืดหยุ่นในสถานการณ์วิกฤติ แต่ปัญหาที่พบ คือ อุปกรณ์ เครื่องมือของผู้เรียนไม่รองรับกับการสอนออนไลน์ สัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่เสถียรสำหรับผู้เรียนที่อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกล ทำให้การสื่อสารกับครูผู้สอนไม่ต่อเนื่อง สำหรับประโยชน์ที่เกิดแก่ผู้ปกครองทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้เรียนในแต่ละวันลดลง
และต้องการให้สถานศึกษาได้จัดให้ผู้เรียนได้เรียนครบตามหลักสูตร
คำสำคัญ : ประเมินโครงการ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
หาญศึก เล็บครุฑ และคณะ. (2557). “แนวคิดการใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิด”. วารสารวิทยบริการ. ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 : 2.
ฐิติวัสส์ สุขป้อม และคณะ. (2563). “ครูกับเทคโนโลยีการสอนในศตวรรษที่ 21”. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 : 1-17.
สมพร ปานดำ. (2563). “ยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเภทอุตสาหกรรมรองรับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม”. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. ปีที่ 33 ฉบับที่ 116 : 1-12.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). คู่มือการจัดการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : COVID – 19. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.