การเปิดรับข้อมูลออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อการท่องเที่ยวของวัยรุ่นไทย Online Media Exposure Effecting Online Media Usage Behaviors for Tourism Among of Thai Youths

Main Article Content

ฉันทนา ปาปัดถา
พงศ์กฤษฏิ์ พละเลิศ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวของวัยรุ่นไทย 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวของวัยรุ่นไทย 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวของวัยรุ่นไทย และ 3) ศึกษาการเปิดรับข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวของวัยรุ่นไทย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี จำนวน 350 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ด้วยการนับจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-Test Independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปิดรับข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง 2) พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวของวัยรุ่นไทย อยู่ในระดับมาก 3) รายได้ต่อเดือนต่างกันมีพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวของวัยรุ่นไทยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเพศต่างกันมีพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวของวัยรุ่นไทยไม่แตกต่างกัน และ 4) การเปิดรับข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวของวัยรุ่นไทย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณมีค่าเท่ากับ .649 กำลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคูณมีค่า เท่ากับ .421 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งส่งผลทางบวก ได้แก่ Facebook เพิ่มขึ้น .243 หรือร้อยละ 24.30, YouTube เพิ่มขึ้น .106 หรือร้อยละ 10.60, Pantip เพิ่มขึ้น .105 หรือร้อยละ 10.50, Tourism Website เพิ่มขึ้น .092 หรือร้อยละ 9.20 และส่งผลทางลบ 1 สื่อ ได้แก่ Dek-d.com ลดลง -.091 หรือร้อยละ 9.10

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564]. จาก https://api.tourismthailand.org/upload/live/content_article_file/20603-15378.pdf

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนสเม้นท์.

MarketingOOPS!. (2564). ช็ค Insights ชาวเน็ต ใช้ชีวิตออนไลน์วันละ 7 ชั่วโมง ‘คนไทย’ เล่นโซเชียลนานสุดในโลก! ถูก ‘Facebook – YouTube’ ดูดติดหน้าจอ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25มีนาคม 2564]. จาก https://www.marketingoops.com/digital-life/digital-2021-report-in-jan-by-we-are-social-and-hootsuite/

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจบริการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563]. จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20181005082111.pdf

Booking.com. (2562). Gen Z ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตและท่องเที่ยว มากกว่าการศึกษา การมีบ้าน หรือความมั่นคงหลังเกษียณ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564]. จาก https://news.booking.com/th-th/gen-z-travelers-cant-wait-to-experience-the-world/

วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา. (ม.ป.ป). ลักษณะและบุคลิกภาพกับรูปแบบของการแสดงพฤติกรรม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565]. จาก http://61.7.151.244/moodle/pluginfile.php/36060/mod_resource/content/1ลักษณะและบุคลิกภาพกับรูปแบบของการแสดงพฤติกรรม.docx.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติประชากรและเคหะ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564]. จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11101_TH_.xlsx

Marketeer. (2564). โลกโซเชียลมีเดียของคนไทย ในปี 2564 ที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาด. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564]. จาก https://marketeeronline.co/archives/209273

Matt Ahlgren. (2564). 20+ Google Search Engine สถิติแนวโน้มและข้อเท็จจริงสำหรับปี 2021. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564]. จาก https://www.websiterating.com/th/research/google-search-engine-statistics/

ดวงใจ จิวะคุณานันท์. (2561). อิทธิพลของ Reviewer ในสื่อออนไลน์กับการตัดสินใจเลือกเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดที่เป็นจุดหมายปลายทางในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

IH Digital - Asia Marketing Simplified. (2562). อิทธิพลโลกออนไลน์กับการท่องเที่ยว. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563]. จาก https://www.ihdigital.co.th/travel-online-world/

ลลิตา สันติวรรักษ์. (2564). สถิติการใช้งาน Digital ประเทศไทย ปี 2021. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564]. จาก https://ajlalita.com/thailanddigital2021/

ชุติกาญจน์ จุลวัจน์ และประภัสสร วิเศษประภา. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยวชายไทยกับการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงชุมชนในจังหวัดจันทบุรี. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564]. จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-2/6114993834.pdf

นุชจรี ศรีธรรม และสุนทร สอนกิจดี. (2560). อิทธิพลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวไทย. ภาควิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

เอมิการ์ ศรีธาตุ. (2559). พฤติกรรมการใช้ และการรับรู้อิทธิพลของสื่อดิจิทัลต่อเจเนอเรชั่นวายและเจเนอเรชั่นแซดในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุพรรษา บุบผาพันธ์. (2559). การเปิดรับข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์และทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.