การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 The Development Of Thai Literature Analytical By Gamification Collaborative Learning For Matthayomsueksa 6 Students

Main Article Content

Siriporn Prempree

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบ เกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา 2) เปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมมือแบบ เกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test dependent


                    ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5920 ซึ่งแสดงว่านักเรียน มีความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทยเพิ่มขึ้น 0.5920 หรือคิดเป็นร้อยละ 59.20  2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา พบว่าผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.47 และ S.D. = 0.43)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพงษ์ ญาณวัฒนะ. (2559) การศึกษาความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีวิจัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนธิรา ชื่นชมพุทธ. (2563). Gamification จากกลยุทธิ์การตลาดสู่ห้องเรียนคณิตศาสตร์, วารสารสสวท. ปีที่ 48 ฉบับ 221. 28-32.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 8. นนทบุรี : พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

วชิราพร ภักค์คุณพันธ์. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2561. 18 กรกฎาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี.

สนิท ตีเมืองซ้าย (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชั่นออนไลน์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นครินทร์ สุกใส. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชัน

ที่มีต่อความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสสูตรและการสอน. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. ครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญะ โชคพล. (2558). การเรื่องการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมมือ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อดิศักดิ์ เมฆสมุทร. (2559). การพัฒนาความสามารถในการอ่านคำควบกล้ำ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับเทคโนโลยีผสานความจริง ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิคเกมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ณัฐดนัย คุณกมุท. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับกลยุทธ์เกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.