การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา: การผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงแห่งศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านระบบ องค์กร หรือธุรกิจ โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญ ให้มีความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด (Digital Disruption) และสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล ในบริบททางการศึกษา สถานศึกษาทั่วโลกได้เปิดรับโอกาสอันอเนกอนันต์ที่มาพร้อมกับยุคดิจิทัลด้วยการผสานแนวคิดการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) เข้ากับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและพัฒนาสถานศึกษา โดยการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้การศึกษาเป็นเรื่องของคนทุกวัยที่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้เปิดรับโอกาสและแนวคิดในการยกระดับการจัดการอาชีวศึกษา ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ให้เป็นกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในทุกมิติของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) ประกอบด้วย 5 มิติ คือ 1) มิติด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ (Policy) 2) มิติด้านกระบวนการ (Process) 3) มิติด้านบุคลากร (People) 4) มิติด้านผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) และ 5) มิติด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Ivy Wigmore. (2017). [ออนไลน์]. VUCA (volatility, uncertainty, complexity and ambiguity). [สืบค้นเมื่อวันที่10 มีนาคม 2565]. จาก https://www.techtarget.com/whatis /definition/VUCA-volatility-uncertainty-complexity-and-ambiguity.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการคุรุสภาวิทยาจารย์, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1. 1-15.
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2564). [ออนไลน์]. 10 เทรนด์อาชีพ สายเทคโนโลยียุคดิจิทัล. [สืบค้นเมื่อวันที่15 มีนาคม 2565]. จาก http://www.bu.ac.th
T.Liepz et al. (2017). Initialising customer-orientated digital transformation in enterprises. Procedia Manuf Journal, vol.8, pp. 517-524
Jean-Baptiste Berguerand. (2021). [ออนไลน์]. Top 8 digital transformation trends in education. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565]. จาก http://hospitalityinsights.eh/.edu/digital-transformation-trends.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
Panich V. (2012) Innovative pathway of learning in 21st century. 4th ed. Bangkok : Sodsri – Saritwong Foundation.
H. Luyten and M. Bazo. (2019). “Transformational Leadership, professional learning communities, teacher learning and learner centred teaching practices; Evidence on their interrelations in Mozambican primary education,” Stud. Educ. Eval., vol. 60, pp. 14-31.
United Nations. (2015). TRANSFORMING OUR WORLD: THE 2030 AGENDA FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT, Washington, D.C.: The Organization.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 2561 – 2580. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สำนักอำนวยการ. (2564). ข่าวประจำวัน ประจำวันที่ 6
ตุลาคม 2564 สอศ.รับลูก “ตรีนุช” ปรับหลักสูตรอาชีวะสู่มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
สมพร ปานดำ. (2564). พัฒนาและยกระดับทักษะอาชีวศึกษาไทยในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก. วารสารวิชาการรัฎฐาภิรักษ์. ปีที่ 63 ฉบับที่ 1. 124-133.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ (2562.) โครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ Education to Employment: Vocational Boot Camp (E to E). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
จีระนันท์ มูลมาตร และคณะ. (2564). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ในยุคดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. ปีที่ 17 ฉบับที่ 2. 21-32.
สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว. (2562). [ออนไลน์]. การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565]. จาก http://www.stc.ac.th/stc/data/research /thailand40.pdf.
ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. (2557.) แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพฯ:ศูนย์.
นิรุตต์ บุตรแสนลี. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไมโครซอฟท์. ศูนย์ข่าวสารประเทศไทย. (2565). [ออนไลน์]. ไมโครซอฟท์จับมือดีป้า ยกระดับทักษะดิจิทัลบัณฑิตอาชีวะรุ่นใหม่ เปิดโครงการ “Advancing the Future of Work” ขับเคลื่อนตลาดงานอีอีซี. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565]. จาก http://www.microsoft.com/ news.microsoft.com /th-th/2020/03/03advancingfutureofwork-th/
มติชนออนไลน์. (2564). [ออนไลน์]. Bitkub World Tech บุกอีสาน! “ปั้น” อาชีวะสู่ Digital Transformation. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565]. จาก http://www.matichon.co.th/ publicize/news_3176721.
สิโรดม มณีแฮด และปณิตา วรรณพิรุณ. (2562). ระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลด้วยปัญญาประดิษฐ์ สำหรับการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 21 ฉบับที่ 2. 359-373.
Kondratova, I., Molyneaux, H., & Fournier, H. (2017). “Design considerations for competency functionality within a learning ecosystem.” Learning and collaboration technology: Novel learning ecosystems. Cham: Springer International Publishing.
Daniel, S.J. (2020). วารสารวิชาการ Education and the COVID-19 pandemic. Prospects. ปีที่ 49 ฉบับที่ 1. 91-96.