การให้ความหมายและกระบวนการสร้างความรู้ เรื่อง การร้อยมาลัย ของสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร Meaning and Knowledge Building Process Garlands Making of Applied Home Economics Faculty, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการให้ความหมาย และกระบวนการสร้างความรู้ เรื่อง การร้อยมาลัย ของสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่า จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) ตามทฤษฎีปรากฎการวิทยา พบว่า การให้ความหมาย เรื่อง การร้อยมาลัย มี 4 นัยยะ ดังนี้ 1) การร้อยพวงดอกไม้ 2) การนำกลีบดอกไม้ ใบไม้และส่วนต่าง ๆ ของพืชมาร้อยเป็นพวง 3) เทคนิคการผูก มัด ร้อย กรอง วัสดุต่าง ๆ มีชายเป็นอุบะ 4) ศิลปะการร้อยดอกไม้รูปแบบต่าง ๆ สำหรับกระบวนการสร้างความรู้ เรื่อง การร้อยมาลัย
แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) วิธีการถ่ายทอดความรู้ 2) คุณสมบัติของผู้สอน 3) การให้ผู้เรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของงานมาลัย 4) นโยบายของสถาบันการศึกษา และ 5) การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเรียนการสอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พัฒนา เจริญสุข. (2550). ศิลปะมาลัยไทยประยุกต์สู่ การออกแบบภายในศูนย์ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ศิลปะมหาบัณฑิต. สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน. ภาควิชาการออกแบบตกแต่ง-ภายใน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กรมศิลปากร. (2530). นางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.
ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ. (2550). มาลัยดอกไม้สด. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ไสว สีบูจันดี. (2565). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) : 126-147.
กนกพรรณ บรมสุข และคณะ. (2560). การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย รูปแบบและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในความต้องการของลูกค้าฟิตเนสทเวนตี้วัน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Beridian E-Journal. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน) : 178-188.
Denzin, N. K. (1970). Socialogical Methods: A source Book. Chicago: Aldine.
จิตลดา กองแก้ว. (2563). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนทักษะชีวิตและอาชีพ เรื่อง การร้อยมาลัย ที่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชนครินทร์. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 : 41-49.
กนกกร จีนา และอลงกรณ์ คูตระกูล. (2561). กระบวนการถ่ายทอดความรู้จากวิทยาลัยสู่ชุมชน : กรณีศึกษาโครงการอนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปกสนุก จังหวัดลำปาง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) : 59-80.
นนทลี พรธาดาวิทย์ และอมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. (2551). การพัฒนาภาพลักษณ์คหกรรมศาสตร์ในสังคมไทย. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์.
จันทนา สุวรรณมาลี. (2533). มาลัย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สุพิชญา มิ่งแก้ว และกตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจขายพวงมาลัยดอกไม้สด ในเขตภาคกลาง. วารสารบริหารธุรกิจ. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) : 52-66.
รัตนลักษณ์ ปัญจวุฒิพัฒน์. (2549). งานดอกไม้สดในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : เศรษฐศิลป์.
พีรติ จึงประกอบ. (2561). แนวทางการสร้างสรรค์งานออกแบบสัญลักษณ์ความเชื่อความศรัทธาแห่งพวงมาลัยไทย. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 : 109-137.