โมเดลเชิงสาเหตุของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ THE CAUSAL MODEL OF ACCEPTANCE AND USE OF ECHNOLOGY AFFECTING COMMUNICATION BEHAVIOR IN ORGA NIZATION THROUGH SOCIAL MEDIA OF ACADEMIC SUPPORT STAFF RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY KRUNGTHEP

Main Article Content

ศักดิ์ชัย จันทะแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ 2) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 260 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Form และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพตามสมมติฐานนั้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 57.50 ค่า df เท่ากับ 43 ค่า p-value เท่ากับ 0.08 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี AGFI เท่ากับ 0.99 ค่า SRMR เท่ากับ 0.00 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.01  และ 2) สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ส่วนความคาดหวังในประสิทธิภาพของสื่อสังคมออนไลน์ และความคาดหวังในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยส่งผ่านพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ร้อยละ 78

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใน ประเทศไทย ปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. KMITL nformation Technology Journal, 1(1). ค้นเมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 จาก http://journal.it.kmitl.ac.th

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS quarterly, 27(3), 425-487.

Edmonds, W. A. & Kennedy, T. D. (2017). An applied guide to research designs: Quantitative, qualitative, and mixed methods. London: Sage.

Hair, J.F et al. (2014) .Multivariate data analysis a global perspective (7th ed.). New Jersey: Prentice-Hall International.

Madden, T. J. & Dillon, W. R. (1982). Causal analysis and latent class models: An application to a communication hierarchy of effects model. Journal of Marketing Research, 19, 472-490.

สังวรณ์ งัดกระโทก. (2557). โมเดลสมการโครงสร้างสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. เอกสารประกอบการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Rovinelli, R., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion- referenced test item validity. Washington, D.C. : ERIC.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Nunnally, J. C. (1978) Psychometric theory (2nd Ed.). New York : McGraw-Hill.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2560). โมเดลสมการโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2016). A beginner’s guide to structural equation modeling. (4th ed.). New York: Taylor and Francis.

สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2535). รายงานการวิจัยเรื่อง การอภิวิเคราะห์และการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียน การสอนภาษาอังกฤษในระหว่างปี 2515 – 2530. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เอ็ดยูเคชั่น.

ยงยุทธ บุญกิจ และสมชาย เล็กเจริญ. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. รังสิตสารสนเทศ, 25(1), 106-124.

ศุภสัณห์ เกิดสวัสดิ์ และสุมาลย์ ปานคำ. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทฤษฎีรวมการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านโซเซียลมีเดียของข้าราชการโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. วารสารศรีนครินทร์วิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(2), 103-112.

AbuShanab, E. & Pearson, J. M. (2007). Internet banking in Jordan the unified theory of acceptance and use of technology (UTAUT) perspective. Journal of Systems and Information Technology, 9(1), 78-97

Ramon P.-S., Santiago F.-C., Javier S.-G., & Emilio R. (2019). User Acceptance of Mobile Apps for Restaurants: An Expanded and Extended UTAUT-2. Sustainability, 2019, 11, (1210). doi:10.3390/su11041210

Ajzen, I. (2012). The theory of planned behavior. In P. A. M. Lange, A. W. Kruglanski & E. T. Higgins (Eds.), Handbook of theories of social psychology (Vol. 1, pp. 438-459). London: Sage.

Venkatesh, V., Thong, J. Y. L., & Xu, X. (2012). Consumer acceptance and use of information technology: Extending the unified theory of acceptance and use of technology. MIS Quarterly, 36(1), 157-178.

Sarapat. A, & Lekcharoen.S. (2017). A Causal Relationship Model of Extended Unified Theory of Acceptance and Use of Technology Affecting Officers in the Armed Forces Academies Preparatory School’s Internal Communication Behavior via Social Media Application. pp. 181-189. In 3rd National and International Conference on Education Research and Social Development. 27-28 April 2017, Rangsit University, Pathumthani, Thailand.