หลักการทรงงาน และหลักปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร The Royal King’s Working Principle, Human Resource Management Pratice Affecting Learning Organization of Personnel in Rajamangala University of Technology Phra Nakhon

Main Article Content

ศุภศิษฏ์ เร่งมีศรีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการทรงงาน หลักปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักการทรงงานกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 


ผลการศึกษา พบว่า :-


บุคลากรที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาโท ประสบการณ์ในการทำงาน ระหว่าง 11 – 20 ปี และส่วนใหญ่เป็นบุคลากรสายวิชาการ หลักการทรงงาน บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.88) หลักปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.80) องค์กรแห่งการเรียนรู้ บุคลากรใหญ่มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.86) ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า หลักการทรงงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (r=0.698)  และหลักปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (r=0.639) ซึ่งหลักปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กันทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Marquardt, M. J. (1999). Action learning in action: Transforming pro blems and peoplefor world-class organizational learning. Palo Alto, Calif: Davies-Black.

Alvin Toffler. 1991. Powershift: Knowledge, Wealth, and Violence at the Edge of the 21st Century. New York: Bantam Books.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). 2551. [ออนไลน์]. กษัตริย์นักพัฒนา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564] จาก http://www.rdpb.go.th/th/King/หลักการทรงงาน-c24

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ม.ป.ป. [ออนไลน์]. ประวัติ โครงสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564]. จาก https://www.rmutp.ac.th/ประวัติ-โครงสร้าง

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activiles, Educational and Psychological Measurement. 30 (3) : 607 - 610.

ลลิต ถนอมสิงห์. (2557). หลักการทรงงานและองค์กรแห่งการเรียนรู้นำไปสู่องค์กรแห่งควายั่งยืน. วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ, 9(1), 1-21

สุธินี ฤกษ์ขำ. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษดา ชาญรบ. (2556). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

พงศกร ศรีรงค์ทอง. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ การ

บูรณาการแนวคิดเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(47), 1–16.