ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ Relationship Between Job Satisfaction and Organizational Commitmentof Supporting Staffs of Rajamangala University of Technology Krungthep

Main Article Content

ศักดิ์ชัย จันทะแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 220 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก  ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับการวิจัยออนไลน์ด้วย Google Form และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัยพบว่า สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรความพึงพอใจในการทำงานกับชุดตัวแปรความผูกพันต่อองค์กร ฟังก์ชันที่ 1 มีค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอลเท่ากับ 0.81 มีค่าสูงสุด นั่นหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอยู่ในระดับที่สูงสุด โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญส่งผลต่อตัวแปรคาโนนิคอลมากที่สุด คือความพึงพอใจในการทำงานด้านความพึงพอใจภายนอกมีค่าเท่ากับ -0.70 ตัวแปรในชุดด้านความผูกพันต่อองค์กรมีค่าน้ำหนักคาโนนิคอลมากที่สุด คือ ความผูกพันต่อองค์กรด้านความรู้สึกมีค่าเท่ากับ -0.73 จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าความพึงพอใจในการทำงานนั้นมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรด้านความรู้สึก ดังนั้นองค์กรควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญเรื่องความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากร เพื่อลดปัญหาเรื่องอัตราการลาออกให้ลดน้อยลง องค์กรควรส่งเสริมให้เกิดความพึงพอใจในการงานทำงานซึ่งส่งผลให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรและนำไปสู่ความจังรักภักดีในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการใน ประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 37(142): 16-32.

Thompson, D. L. (1983). Public-private policy: An introduction. Policy Studies Journal, 11(3), 419.

Deery, M., & Jago, L. (2015). Revisting Talent Management, Work-life Balance and Retention Strategies. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 27(3), 453-472.

Harter, J. K., Schmidt, F. L., & Hayes, T. L. (2002). Business-unit-level relationship between employee satisfaction, employee engagement, and business outcomes: a metaanalysis. Journal of Applied Psychology, 87(2), 268-279.

Schaufeli, W. B., & Bakker, A. B. (2004). Job demands, job resources, and their relationship with burnout and engagement: A multi‐sample study. Journal of Organizational Behavior: The International Journal of Industrial, Occupational and Organizational Psychology and Behavior, 25(3), 293-315.

Salleh, S. M., Zahari, A. S. M., Ahmad, F. H. M., Aziz, N. U. A. & Majid, M. A. (2015). Exploring the relationship between interpersonal trust and job satisfaction on organizational commitment. Journal of Basic Applied Scientific Research, 5 (1), 85-90.

Moorhead, G., & Griffin, R. W. (1995). Organizational Behavior: Managing People and. Organization. Boston.

Smith, C. A., Organ, D. W., & Near, J. P. (1983). Organizational citizenship behavior: Its nature and antecedents. Journal of Applied Psychology, 68(4), 653–663.

Giritli, H., Sertyesilisik, B. & Horman, B. (2013). An investigation into job satisfaction and organizational commitment of construction personnel. Global Advanced Research Journal of Social Science, 2 (1), 1-11.

Priya, N. K. & Sundaram, D. M. K. (2016). A study on relationships among job satisfaction, organizational commitment and turnover intention in Kolors Healthcare India Pvt ltd, Chennai. International Journal of Advanced Research in Management, 7 (1), 58-71.

Tarigan, V. & Ariani, D. W. (2015). Empirical study relations job satisfaction, organizational commitment, and turnover intention. Advances in Management and Applied Economics, 5(2), 21-42.

ศักดิ์ชัย จันทะแสง (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความฉลาดทางจิตวิญญาณและความพึงพอใจ ในงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลกรุงเทพ. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(1), 254-269.

Saridakis, G., Lai, Y., Muñoz Torres, R. I. & Gourlay, S. (2020). Exploring the relationship between job satisfaction and organizational commitment: An instrumental variable approach. The International Journal of Human Resource Management, 31 (13), 1739-1769.

Akhigbe, O. J., Felix, O. O. & Finelady, A. M. (2014). Employee job satisfaction and organizational commitment in Nigeria manufacturing organizations. Life, 6 (25), 83-96.

Leite, N. R. P., Rodrigues, A. C. D. A. & Albuquerque, L. G. D. (2014). Organizational commitment and job satisfaction: What are the potential relationships?. BARBrazilian Administration Review, 11 (4), 476-495.

Rahman, M. M., Uddin, M. J. & Miah, M. S. (2013). The role of human resource management practices on job satisfaction and organizational commitment in banking sector of Bangladesh-A comparative analysis. Journal of the Faculty of Business Administration JFBA), Islamic University Studies, 10 (1), 270-275.

พรสรัญญ์ วงศ์ศรีศุภกุล.(2557). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ความพึงพอใจในงาน และความผูกพัน ต่อองค์กร : กรณีศึกษาการประปาส่วนภูมิภาค. งานวิจัยส่วนบุคคล สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร คณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ และฐิติมา ไชยะกุล. (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจความพึงพอใจ และความผูกพัน ต่อองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมยานยนต์ของ เขต นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4 (3), 14-26.

Beck, A. T., & Steer, R. A. (1991). Relationship between the Beck anxiety inventory and the Hamilton anxiety rating scale with anxious outpatients. Journal of Anxiety Disorders, 5(3), 213-223.

Kermansaravi, F., Navidian, A., Rigi, S. N., and Yaghoubinia, F. (2015). The relationship between Quality of work life and job satisfaction of faculty members in Zahedan University of Medical Sciences. Global Journal of Health Science, 7(2), 228-234.

Allen, N. & Meyer, J. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. The Journal of Occupational Psychology, 63 (1), 1-18.

Stevens, J. (1986). Applied multivariate statistics for the social science. Hillsdale, NJ : Erlbaum.

นําชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นพหุระดับปัจจัยภาวะผู้นําปัจจัยกลุ่มสาระการเรียนรู้ และปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อเครือข่ายการแลกเปลี่ยนทางสังคมในที่ทํางานและตัวแปรผลทางด้านจิตพิสัยของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร.ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต.สาขา การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.ตาก: โพรเจ๊คท์ ไฟฟ์-โฟว์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2553). ชุดวิชาการวิจัยหลักสูตรและการเรียนการสอน หน่วยที่ 7 การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและหน่วยที่ 10 สถิติวิเคราะห์เชิงปริมาณ : สถิติบรรยายและสถิติพาราเมตริก หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Cheanchana, C. (2015). Using Multivariate Statistics for Research: Designing, Analyzing, and Interpreting. Bangkok: Samlada Printing