ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร Factors Affecting the Consumption of Healthy Alternative Beverages among the Population in Bangkok

Main Article Content

Cholticha Siriprayong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติต่อเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรกับการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ 5) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติต่อทัศนคติต่อเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ภาพรวมประชากรในเขตกรุงเทพมหานครมีทัศนคติต่อเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพ อยู่ในระดับ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพ ภาพรวมประชากรในเขตกรุงเทพมหานครมีทัศนคติต่อเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพ อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ภาพรวมประชากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีทัศนคติต่อเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพ อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) เพศ การศึกษา อาชีพ ต่างกันมีการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครแตกต่างกัน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า มีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่จัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดมีผลทางบวกต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มพัฒนาระบบ 1 ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ. (2019). [ออนไลน์]. คู่มือรณรงค์ให้ความรู้ เรื่อง สัญญาลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” สำหรับบุคคลทั่วไป. [สืบค้น 20 ตุลาคม 2565]. จาก https://pubhtml5.com/wrfu/psva/basic

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2564). [ออนไลน์]. เครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพ. [สืบค้น 25 กันยายน 2565]. จาก https://shorturl.asia/ICaFt

สำนักข่าว Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2016). [ออนไลน์]. เปิดตัวสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ ‘Healthier Choice’จาก 14 บริษัทผ่านการรับรอง [สืบค้น 20 ตุลาคม 2565]. จาก https://www.hfocus.org/content/2016/09/12648

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร และสังคมศาสตร. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

Chanida Niyomsuk. (2017). Factors Related to Clean Food Consumption Behaviour of Working People in Bangkok. Master of Home Economics Program in Home Economics, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.

สุดารักษ์ อิ่มวงค์ และชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารคลีนเพื่อสุขภาพของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26(3) กรกฎาคม-กันยายน, 242-258.

Savita Hanspal and P. Raj Devasagayam. (2017). Impact of Consumers’ Self-Image and Demographics on Preference for Healthy Labeled Foods. SAGE Journals. 7(1) January, 1-18.

มยุรี ตั้งพานทอง. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการ “ธัญบุรีวิจัย ครั้งที่ 2” ตุลาคม 2552.

Vyth EL, Steenhuis IHM, Mallant SF, Mol ZL, Brug J, Temminghof M et al. (2009). A front-of-pack nutrition logo: a quantitative and qualitative process evaluation in the Netherlands. J Health Commun 14, 631–645.

Ingrid Borgmeier and Joachim Westenhoefer. (2009). Impact of different food label formats on healthiness evaluation and food choice of consumers: a randomized-controlled study. BMC Public Health. 2009; 9: 184.

กนกวรรณ คงธนาคมธัญกิจ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบพร้อมทานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศษสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.