A Study of the Risk on Construc การศึกษาความเสี่ยงโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริหาร ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (สัญญาที่ 2 งานระบบ) จากผลกระทบของโรคระบาด (โควิด-19) A Study of the Risk on Construction Project of Administrative Center in Expressway Authority of Thailand (Contract 2, System Works) from the Impact of the Coronavirus Disease (Covid-19)

Main Article Content

koravich tongthae

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินความเสี่ยง (Riskassessment) ของระดับโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และระดับผลกระทบเพื่อเสนอแนะแนวทางการควบคุมความเสี่ยงเหล่านั้นผ่านการดำเนินการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มผู้ว่าจ้าง (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) จำนวน 25 คน และกลุ่ม ผู้รับจ้าง (ผู้รับเหมา) จำนวน 14 คน รวมทั้งหมด 39 คน ใช้เครื่องมือในการวิจัยในรูปแบบของแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางสถิติได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยสำหรับนำไปใช้ต่อในการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงทั้งนี้ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการศึกษาปัจจัยความเสี่ยงในการดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริหารของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (สัญญาที่ 2 งานระบบ)จากผลกระทบของโรคระบาด (โควิด19) ซึ่งผลปรากฏว่ากิจกรรมทั้งหมด 4.ด้านประกอบด้วย 1) ผลกระทบด้านการเงิน 14.66 คะแนน  2) ด้านผลกระทบต่อลูกค้า 14.06 คะแนน 3) ด้านกฎหมายและข้อกำหนด 14.06 คะแนน 4) ด้านภาพลักษณ์องค์กร 14.06 คะแนน การวิจัยแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมทั้ง 4.ด้าน ของงานระบบศูนย์บริหารทางพิเศษแห่งประเทศไทย กิจกรรมมีคะแนนความเสี่ยงสูงในทุกด้านและกิจกรรมปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงมีคะแนนสูงถึง 3.97 คะแนน ผู้วิจัยมีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้กำหนดขึ้นนำมาวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยแยกวิเคราะห์ความเสียงออกเป็น 2 ประเด็นคือ โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและผลกระทบของความเสี่ยงและนำข้อมูลมาจัดลำดับความเสี่ยงจากโรคระบาด (โควิด19) ซึ่งมีความรวดเร็วความรุนแรงและก่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนในการบริหารสัญญาจ้างส่งผลกระทบต่อผู้ว่าจ้างมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับการเข้าปฏิบัติงานล่าช้าสาเหตุจากผู้รับจ้างซึ่งส่งผลกระทบให้ผู้รับจ้างปฏิบัติงานไว้ได้ตามกำหนดคุณภาพมาตรฐานตามสัญญาจ้างแนวทางการควบคุมในสถานการณ์โรคระบาด (โควิด 19 ) โดยการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงองค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปรับปรุงกระบวนการบริหารสัญญาจ้าง ตรงตามวัตถุประสงค์การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สำนักงานควบคุมและตรวจสอบอาคาร. กรมโยธาธิการและผังเมือง. กระทรวงมหาดไทย

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. (2522, 8 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 80 ฉบับพิเศษ หน้า 1-43.

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. (2535, 29 มีนาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 39 หน้า 1-20.

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543. (2543, 4 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนที่ 42 ก. หน้า 1-14.

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550. (2550, 7 ตุลาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 68 ก. หน้า 1-3.

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558. (2558, 24 สิงหาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-7.

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. (2558, 10 สิงหาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนที่ 86 ก. หน้า 1-19.

กมลทิพย์ ขัดชุ่มแสง. (2547). วิทยานิพนธ์ การจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงในการใช้ผู้รับเหมาช่วงของโครงการอาคารสูง วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.

กฤตวิทย์ สรรพคุณ. (2550). วิทยานิพนธ์ การประเมินความเสี่ยงในการใช้ผู้รับเหมาช่วงของโครงการวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธีวะวัฒน์ บัวทอง. (2548). สารนิพนธ์ ระบบบริหารสารสนเทศเพื่อการติดตามงานบริการและโครงการ. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศคณะเทคโนโลยี สารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุดารัตน์ ชูถม และ วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์. (2550) การจัดสรรความเสี่ยงในสัญญาจ้างก่อสร้างอุโมงค์ในประเทศไทย. เอกสารการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 12, 282-288.

เอกกวี ภูมิฤทธิกุล. (2550). วิทยานิพนธ์ การสำรวจประเด็นปัญหาในการบริหารโครงการ กรณีศึกษา การบริหารโครงการก่อสร้าง วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

AI-Bahar,J.F. (1998). Risk Management in construction Project: A Systematic Analytical Approach for Contractors. Ph.D. Thesis, University of California in Berkeley