ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร Factors Affecting Fresh Coffee Consumption Behavior of People in Bangkok

Main Article Content

ฉันทนา ปาปัดถา
กรรณิการ์ โต๊ะมีนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติ การรับรู้คุณค่า ส่วนประสมทางการตลาด และพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงประมาณ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรในกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่บริโภคกาแฟสด จำนวน 400 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า (1) ทัศคติต่อกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง (2) การรับรู้คุณค่ากาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (3) ส่วนประสมทางการตลาดของกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่จัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ (4) พฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานครภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อทำการทดสอบสมติฐาน พบว่า (1) อายุ และการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน และ (2) ปัจจัยทัศนคติ การรับรู้คุณค่า และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคาของกาแฟสดมีผลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่จัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการไม่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วริทธิ์นันท์ ชุมประเสริฐ, นุชนารถ คูประเสริฐ, อาทร เจียมเด่นงาม, และ อภิชญา ศรีรัตน์. (2563). กาแฟคุณภาพ…ทางออกของเกษตรกรไทย. Regional Letter แบ่งปันความรู้…สู่ภูมิภาค ฉบับที่ 2/2563. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/RegionalEconomy/DocLib14 /Coffee_Final_020620.pdf

คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). ประวัตกาแฟ. สืบค้นเมื่อวันที่ มกราคม 2561 URL : http://www.anatomy.dent.chula.ac.th/coffee.html

เซกาเฟรโด. (2559). ความเป็นมาของกาแฟในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.segafredozanetti.co.th/th/archives/1832

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2550). ผลิตภัณฑ์กาแฟปี’ 50: มูลค่าตลาด 25,600 ล้านบาท. สืบค้นจากhttp://www.kasikornresearch.com

PITBULL COFFEE. (2564). กาแฟสด เป็นเครื่องดื่มที่คนทั่วโลกนิยมดื่มกัน. สืบค้นจาก http://pitbullcoffee.com/index.php?route=extension/module/knowledge/detail&knowledge_id=31

Market Intelligence. (2565). ตลาดกาแฟในประเทศไทย ปี 2564. สืบค้นจาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=364

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มอายุ ภาคและจังหวัด พ.ศ. 2555 – 2564. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2565 จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11102_TH_.xlsx

Thai High Coffee. (2563). พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อ Specialty Coffee. สืบค้นจาก https://thai-high-coffee.myshopify.com/blogs/news/พฤติกรรมและทัศนรติของผู้บริโภคที่มีต่อ-specialty-coffee

ไพลิน พรรพโต. (2556). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดและความพึงพอใจต่อร้านกาแฟสดในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 4(ฉบับพิเศษ) พฤษภาคม 2556, หน้า 35-43.

Gale B. T. (1994). Managing customer value: Creating quality and service that customers can see. New York: Free.

กัญชริญา พรมหแก้ว ปิยะนุช ปรีชานนัท์ และธีรศักดิ์ จินดาบถ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพ การรับรู้คุณประโยชน์ และทัศนคติต่อการดื่มกาแฟของผู้บริโภคชาวพัทลุง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จิรัฎฐ์ ชาญวิระเมธาธรณ์. (2559). การรับรู้คุณภาพกับความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการให้บริการศึกษาเปรียบเทียบธุรกิจกาแฟร้านสตาร์บัคส์กับร้านคอฟฟี่เวิลด์ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สุกัญญา ละมุล. (2559). ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟสดคาเฟ่อเมซอน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อริศรา พร้อมแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านบ้านแก้วกาแฟ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้ยริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เดือนเพชร วิชชุลดา. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางกาตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟ ร้านกาแฟอินทนิลในสถานีบริการน้ำมันบางจากของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศาสตร์และนวัตกรรม) คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นงนุช อุณอนันต์. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการ้านกาแฟสดในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 8(2) กรกฎาคม - ธันวาคม, หน้า 69-80.

ศศิธร พรมมาลา. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

สุธาวีร์ เหลืองสินศิริ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

ศรัณภัสร์ พูลสุวรรณสิน. (2564). พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟจากร้านคาเฟ่ อเมซอนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-8/6114154033.pdf

เอื้องฟ้า กายธัญลักษณ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการและบริโภคเครื่องดื่ม ร้านสตาร์บัคส์ (Starbucks). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คมพันธ์ N. (2558). ‘ทัศนคติ’ ความหมาย และความสำคัญ. กรุงเทพธุรกิจ. 13 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/109397

ธนพล จินดามณี พุฒิธร จิรายุส และสุทธิพงศ์ ยุสเปรมานนท์ (2562) ทัศนคติของผู้บริโภคต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและปัจจัยภายนอก (สิ่งกระตุ้นอื่น ๆ) กรณีศึกษา : ผู้ใช้บริการร้านกาแฟสดจังหวัดตรัง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(1) มกราคม-เมษายน, หน้า 226-236.

ณัฐทิชา ชาญวิทย์การ และวาทิต อินทุลักษณ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคและปัจจัยคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้บริโภคกาแฟแฟรนไชส์ของไทยในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14(3) กันยายน- ธันวาคม, หน้า 526-547.

พิตติยานัน แสงทอง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสลากดิจิทัลของลูกค้าธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เกษสิรี ปั้นธุระ. (2556). การรับรู้คุณค่าและการตั้งใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคต่อสินค้าอาหารโอทอป, วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 53(3), หน้า 201-230.

ธนพร นังตะลา. (2557). การรับรู้และการบริโภคกาแฟสดของบคุ ลากรทางด้านสาธารณสุขในเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รมย์นลิน โรจน์ธำรงค์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินซื้อกาแฟสดจากร้านกาแฟสตาร์บัคส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.