ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถในการใช้โปรแกรมประมวลคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดท่ามะปราง) The Effects of Lesson Planning Using Learning Activities with QSCCS in Developing Achievement and Competency on Word Processing Program of the 4th Grade Students at Tessaban 3 School (Wat Tha Maprang)

Main Article Content

Teewara Kritpolwiwattana

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การนำเสนอข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบบันได 5 ขั้น และ
3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบบันได 5 ขั้น ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดท่ามะปราง) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน
33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอ ใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบบันได 5 ขั้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า  


  1. ประสิทธิภาพแผนจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การนำเสนอข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์ มีค่าเท่ากับ 85.58/73.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 

  2. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าระหว่างเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 

  3. ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบบันได 5 ขั้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการใช้โปรแกรมประมวลคำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.54, S.D. = 0.33)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). [ออนไลน์]. คู่มือการใช้หลักสูตรสาระเทคโนโลยี (วิทยการคำนวณ) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565] จาก http://oho.ipst.ac.th/cs-curriculum-teacher-guide/

วัชรพัฒน์ ศรีคำเวียง. (2561). [ออนไลน์]. วิทยาการคำนวณ (Computing Science). [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน2565]. จาก https://www.scimath.org/lesson-technology/item/8808-computing-science

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสารการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระแกนกลางเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อรวรรณ พิลา. (2564). การศึกษาผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 1(1) 149-167.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น

พุฒิญารัศมิ์ วรรณสุข. (2562). การพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) ที่ส่งเสริมความสามารถด้านภาษา

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดบ้านทุ่งสว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 7. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ และทะเนศ วงศ์นาม. (2559). การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCSS) สำหรับนิสิตปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18 (4), 86-98.

ชฎาพร มีเอนก, พัชรินทร์ รั้งท้วม และสุภาณี เส็งศรี. (2565). [ออนไลน์]. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครโมโซมและสารพันธุกรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 2565 (2), 219-233.