การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw เรื่อง Internet of Things (IoT) และSmart City สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 A Study on Effects of Inquiry-Based Learning (5Es) with Cooperative Learning by Jigsaw Technique on Internet of Things (IoT) and Smart City for Mathayomsuksa 6 Students

Main Article Content

พีรพัฒน์ สังวร
สุภาณี เส็งศรี
ธนารัตน์ หาญชเล
วราพร อนันตวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw ตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 8 โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน
โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแผนการ
จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw
แบบประเมินความเหมาะสมในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw


ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 83.67/93.00 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ มีความพึงพอใจระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.08 การวิจัยครั้งนี้สามารถนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชา หรือระดับชั้นอื่น ๆ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ยุทธภูมิ เทียมเมืองแพน. (2564). [ออนไลน์]. Enabling The Future of IoT in 2022. [สืบค้นเมื่อวันที่ 02 ธันวาคม 2565]. จาก https://youtu.be/x7saJ0BZr0c.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561).รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Wilder, M., and Shuttleworth, P. (2004). Cell inquiry: a 5e learning cycle ProQuest Education Journals lesson.37.41(4)..

วรรณวิสา จันทร์สุนทราพร. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความคล้ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2540). การสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการ. ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

ชนาธิป พรกุล. (2543). แคทส์ : รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต่วนนูรีซันน์ สุริยะ. (2559). อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์กับการบริหารจัดการห้องเรียนอัจฉริยะ. 26-31.ปีที่ 6 ฉบับที่ 11. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). [ออนไลน์]. พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565]. จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/blueprint-thailand-4/.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). [ออนไลน์]. กระบวนการคิดเชิงออกแบบ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566]. จาก http://designtechnology.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/83/2020/01/2_02กระบวนการคิดเชิงออกแบบ.pdf

สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาทางการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุวีรยาสาส์น.กรุงเทพมหานคร.

สำนักศึกษานิเทศก์ และพัฒนามาตรฐานการศึกษา. (2542). เอกสารประกอบการฝึกอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ศิริภัชรพร ใบยา. (2558). ชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา./ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา.คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เบญจภรณ์ รอดสุขเจริญ. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Jigsaw เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. ภาควิชาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พจีพร ศรีแก้ว. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเกมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงโลก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. ภาควิชาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วริษา ทรัพย์สำราญ และพรรณราย เทียมทัน. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค

จิ๊กซอว์ร่วมกับอินโฟกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาออกแบบและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสาร Education Journal. ปีที่ 5 -ฉบับที่ 3 . 112-122.