ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก Effects of Flipped Classroom Model and Collaborative Learning Management with Jigsaw Technique on Learning Achievement towards Learning in Media Literacy for 9th-Grade Students.

Main Article Content

Kiattisak Panklin

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ ก่อนและหลังจากใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ หลังจากใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊ก ตามเกณฑ์ร้อยละ 80
และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในทางการเรียนรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์  โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.12 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลองและหลังทดลอง 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติทีแบบ dependent และ one-sample 


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง รู้เท่าทันสื่อ หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X= 16.64, S.D. = 1.94) 3) ผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.22 สามารถแปลความหมายของค่าที่วัดได้ว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X= 4.22, S.D. = 0.90)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reachevery student in every class day. International Society for Technology in Education.

E. Hunt David. (1981). Leaning Style and the Interdependence of Practice and Theory. Phi Delta Kappen.

Miller, B. (2014). Back to the Classroom-Talking it Beyond the Content. Journal of Information System Education, 25.

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. (2564). [ออนไลน์]. ผลการสำรวจสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ และดิจิทัลของประชาชนไทย ปี พ.ศ. 2563 – 2564. [สืบค้นเมื่อ 25 พฤษจิกายน 2565] จาก https://www.thaimediafund.or.th/กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย-7/

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นครินทร์ สุกใส. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันที่มีต่อความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พรื้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สุกัลยา นิลกระยา. (2557). การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดียบนเครือข่ายไร้สาย m-learning เรื่อง ตรรกศาสตร์ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการนำตนเอง.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และ สื่อสารมวลชน ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สุชาดา ทองแดง. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจในการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw) กับการสอน ตามคู่มือครูผู้สอน โรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2.

สุวิทย์ มูลคํา; และ อรทัย มูลคํา. (2545). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.