กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสืบสานอัตลักษณ์ชุมชนท่าแร่ จังหวัดสกลนคร Communication Strategies for the Conservation of Tha Rae Community Identity Sakon Nakhon Province

Main Article Content

Sittisak suwannee

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสืบสานอัตลักษณ์ของชุมชนท่าแร่ จังหวัดสกลนคร เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวมรวมข้อมูลการวิจัยผ่านเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) การสังเกต (Observation) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการธำรงรักษาอัตลักษณ์ไว้ให้คงอยู่คู่ชุมชนจำนวน 17 คน ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของการสื่อสารกลยุทธ์ ในประเด็นเหล่านี้
ซึ่งประกอบด้วย 1) สถานการณ์ 2) วัตถุประสงค์ 3) ข้อมูลประกอบในการวาง 4) เป้าหมาย 5) ผู้รับสาร
6) ข้อความหลักที่เป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร 7) กลยุทธ์ วิธีการ ที่เหมาะสม แล้วจึงนำไปสู่ การสร้างกลยุทธ์ในการสื่อสารเพื่อสืบสานอัตลักษณ์ของชุมชนท่าแร่ จังหวัดสกลนคร ผ่านเครื่องมือ TOWS Matrix ได้ 4 ลักษณะ ดังนี้ 1) กลยุทธ์เชิงรุก คือ การนำอัตลักษณ์ของชุมชนที่มีความโดน นำเสนอผ่านช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้การสื่อสารผ่านสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ ควรมีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือการสื่อสารที่ทันสมัยเพื่อสื่อสารถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ชุมชนให้กับผู้ส่งสาร ถ่ายทอดไปยังกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ในชุมชน เพื่อลดช่องว่างระหว่างยุคสมัยของ
กลุ่มคน และเป็นการส่งต่อถ่ายทอดอัตลักษณ์ที่ดีงาม 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ การจัดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรวบรวมข้อมูลอัตลักษณ์ที่มีอยู่ให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน เพื่อนำข้อมูลอัตลักษณ์ไปใช้ในการเสนอบนเวทีสาธารณะ เช่น การประชุมวางแผนการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐ หรือ การวางกลยุทธ์การสื่อสารการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาคเอกชน บูรณาการข้อมูลอัตลักษณ์ของชุมชนระหว่างภาคส่วนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4) กลยุทธ์เชิงรับ คือ พยายามลดความรุนแรงของการสื่อสารระหว่างกลุ่มคนที่ยุคสมัยของวัยที่แตกต่างกัน (Generation Gap) ที่มีทัศนคติความเชื่อ ค่านิยม แตกต่างกัน ปรับทัศนคติให้เกิดความเข้าใจ โดยการเปิดเวทีสาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนแนวความคิดระหว่างกลุ่มผู้มีองค์ความรู้ในเรื่องอัตลักษณ์ของชุมชนท่าแร่ กลุ่มเยาวชนในชุมชน และภาคีเครือข่ายหน่วยงานทางภาครัฐและเอกชน ปรับให้เกิดความสมดุล เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่อัตลักษณ์ชุมชนกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น 


คำสำคัญ : กลยุทธ์การสื่อสาร, อัตลักษณ์ชุมชน


Abstract


The purpose of this research was to study communication strategies to inherit the identity of Tha Rae community. Sakon Nakhon Province is a qualitative research. Gather research data through related documents and research. in-depth interview,observation, group discussion.Provide key information that has a stake in maintaining the identity to remain in the community, totaling 17 people. The study found that Elements of Strategic Communication Must study these issues, which consist of 1) situations 2) objectives 3) supporting information in planning 4) goals 5) audiences 6) key messages at the heart of communication 7) strategies and appropriate methods then lead to Creating a communication strategy to preserve the identity of the Tha Rae community Sakon Nakhon Province through the TOWS Matrix tool in 4 ways as follows 1) Proactive strategy is to bring the identity of the community that is presented through modern communication channels. in order to effectively reach the audience This research uses communication through print media and e-books. 2) The corrective strategy is that there should be a workshop on the use of modern communication tools to communicate knowledge about community identity to messengers. transmitted to the new generation of youth in the community to reduce the gap between the generations of the group and is a way to pass on a good identity. 3) Preventive strategy is to manage the participation of the community in collecting existing identity information to cover all aspects in order to use the identity information in public forums such as travel agency planning meetings. government sector or tourism communication strategy formulation of private sector agencies Integrate community identity information between sectors in the same direction. 4) Passive strategy is trying to reduce the intensity of communication between groups of people in different age groups (Generation Gap) with different attitudes, beliefs, values, adjusting attitudes to create understanding. By opening a public forum to exchange ideas between people who have knowledge on the identity of the Tha Rae community. community youth groups and network of government and private agencies adjust to balance To contribute to the understanding of what community identity is facing today. and the upcoming future.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นการสื่อสารชุมชน. กรุงเทพ : ภาพพิมพ์.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565. จาก https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/849.

เทศบาลตำบลท่าแร่.(2564). วันจุดเทียนระลึกถึงผู้ล่วงลับ. ค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2564. จาก http://www.tharaesakon.go.th/link%20marge/Pasuksit/pasuksit.html.

เทศบาลตำบลท่าแร่. (2565). ประวัติบ้านท่าแร่ เทศบาลตำบลท่าแร่. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564. จาก http://www.tharaesakon.go.th/link%marge/Pawat%Tharae/pawat%tharae.html.

บุญธรรม อาจหาญ. (2549). การศึกษาธุรกิจเนื้อสุนัขชุมชนท่าแร่ จังหวัดสกลนคร . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

บัญญัติ สาลี และมยุรี ถาวรพัฒน์. (2564). มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาญ้อ. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2565. จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/70.

ภวินท์ ศรีเกษมสุข และธาตรี ใต้ฟ้าฟูล. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรในภาวะวิกฤตของรัฐวิสาหกิจ

ในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2563.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2554). สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเพื่อการปฎิรูปสื่อในประเทศไทย วารสารการ ประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 4 (1), 1-17.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ, ภัทรพงศ์ เหล่าไพโรจน์. (2559). กลยุทธ์การสื่อสาร และการรับรู้โครงการความรับผิดชอบ ต่อสังคมของ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ผ่านชุมชนออนไลน์, ประชุมสัมมนาวิชาการ ระดับชาติ ประจาปี 2559 คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์ (1 ก.ค. 2559), 315-334.

วิวัฒน์ ทองกันตัง. (2565). ท่าแร่ วิถีคาทอลิก. ค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2565. จาก https://shorturl.asia/19N3q.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร. (2564). เทศกาล ประเพณี แห่ดาวคริสต์มาส ท่าแร่. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2565. จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/70.

สถานีวิทยุเวียดนาม ส่วนกระจายเสียงต่างประเทศ. (2563). เสน่ห์ชุดอ๊าวหญ่าย ชุดประจำชาติเวียดนาม. ค้น เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2565. จาก https://shorturl.asia/NWSsg.

สิริกานต์ ทองพูน. (2563). อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านลานคา จังหวัดสุพรรณบุรี.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สมสง่า ยาบ้านแป้ง. (2564). มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาญ้อ. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2565. จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/70.

สมาคมการพิมพ์ไทย. (2565). แนวทางการพัฒนาสิ่งพิมพ์ออนไลน์ในยุคดิจิทัล. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.thaiprint.org/vol135/industrial135-03/.

Berlo, David K. (1960). The Process of Communication. New York : The Free Press.

Helene B. Ducros. (2018).“Fête de la Soupe”: rural identity, self-representation, and the (re)making of the village in France, Journal of Place Management and Develop ment, Vol. 11 Issue: 3, pp.296-314, https://doi.org/10.1108/JPMD-07-2017-0068.

Kris Piroj. (2017). TOWS Matrix คืออะไร ? และตาราง TOWS Matrix ตัวอย่าง. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2565. จาก https://greedisgoods.com/tows-matrix-%E0%B8%84%E0%B8