การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม เชิงพาณิชย์สู่ประเทศไทย 4.0 Development Activities to Enhance Innovation Thinking Skills, for Commercialized Products, for Thailand 4.0

Main Article Content

ปิติภาคย์ ปิ่นรอด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประเมินประสิทธิภาพและศึกษาความพึงพอใจชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเชิงพาณิชย์สู่ประเทศไทย 4.0 โดยใช้การวิจัยแบบผสมแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากการถอดบทเรียนความสำเร็จของผู้ประกอบการนวัตกรรมที่มีผลงานสู่เชิงพาณิชย์ จำนวน 20 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เพื่อพัฒนาเป็นชุดกิจกรรม ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อประเมินประสิทธิภาพชุดกิจกรรมฯ ที่พัฒนาขึ้น โดยมีกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนและศึกษาความพึงพอใจกับกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 33 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ 1.ชุดกิจกรรมฯ จำนวน 9 ชุด 2.แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3.แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างดำเนินกิจกรรม 4.แบบประเมินผลชิ้นงาน 5.แบบสะท้อนคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E1/E2 และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย 1. ชุดกิจกรรมฯ ที่พัฒนาขึ้นมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรูปแบบเชิงประสบการณ์มี 4 ขั้นตอน 9 ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1: ต้นน้ำ (คิด) ขั้นตอนที่ 2-3: กลางน้ำ (ผลิต/ทดสอบ) ขั้นตอนที่ 4: ปลายน้ำ (ขาย) ชุดกิจกรรมมี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ชื่อกิจกรรม 2) ระยะเวลา (นาที) 3) วัตถุประสงค์ 4) วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ 5) กรอบแนวคิด 6) ขั้นตอนกิจกรรม 7) สรุปกิจกรรม 8) การวัดประเมินผล โดยมีรายละเอียดในแต่ละชุดกิจกรรมประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1: ต้นน้ำ (คิด) ประกอบด้วยชุดกิจกรรมที่ 1. Mindset (บินให้ไกลไปให้ถึง) ชุดกิจกรรมที่ 2.-3 กิจกรรมการฟังและการถาม ชุดกิจกรรมที่ 4. กิจกรรมการระดมสมอง ชุดกิจกรรมที่ 5. กิจกรรมการคัดเลือกไอเดีย ขั้นตอนที่ 2-3: กลางน้ำ (ผลิต/ทดสอบ) ประกอบด้วยชุดกิจกรรมที่ 6. กิจกรรมสร้าง Prototype ชุดกิจกรรมที่ 7. กิจกรรมการทดสอบ (Test) ขั้นตอนที่ 4: ปลายน้ำ (ขาย) ประกอบด้วยชุดกิจกรรมที่ 8. กิจกรรมการหาจุดคุ้มทุน และชุดกิจกรรมที่ 9. กิจกรรมการขาย 2. ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมระดับมาก = 4.49 , SD = 0.26  และประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมฯ มีค่าเท่ากับ 81.78/81.11 และผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมฯ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด = 4.57 , S.D. = 0.21

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

UNESCO. (1998). National Strategies and Regional Co-operation for the 21st Century. Proceeding of the Regional Conference on Higher Education : Tokyo.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2557 หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร.

Pitipark P. (2014). Conceptual Framework for Developing Thinking Skills by Learning Model on Research-Based Techniques in Pulse Techniques Subject. The 2nd International Conference on Technical Education. www.ictcched.org. November 6. 2014 Factory of Technical Education, KingMongkut's University of Technology North Bangkok, Thailand.

มงคลชัย สมอุดร. (2558). การบรรยายงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2558 ระหว่างวันที่ 2 – 5 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ประเด็น สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมกับต้นแบบความคิดเพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์ (2 ก.พ.58 13.00-16.30 น.)

Pitipark Pinrod. (2015). Conceptual Framework of Critical Success Factors on Developing Vocational Education Invention and Innovation to Commercial Products. Proceeding of The 3rd International Conference on Technical Education: Engineering &Technical Education. November 26, 2015. Faculty of Technical Education King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. (2558). [ออนไลน์]. ข้อกำหนดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประจำปีการศึกษา 2558.[ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558] จาก http://ver.vec.go.th/ .

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2564). รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ 1 (25 กรกฎาคม 2562-25 กรกฎาคม 2563) /สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

ปิติภาคย์ ปิ่นรอด. (2561). ตัวแบบการนำสิ่งประดิษฐ์ของนวัตกรสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์สำหรับผู้ประกอบการนวัตกรรมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

Kolb, D. A. (2014). Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. [Online]. Retrieved Jan, 2, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/235701029_Experiential_Learning_Experience_As_The_Source_Of_Learning_And_Development

Niels Floor. (2022). Learning Experience Design.com. [Online]. Retrieved Jan 2, 2022, from http://www.learningexperiencedesign.com/index.html

Rogers, Everett M. (1983). Diffusion of Innovations. 3ed ed. New York: The Free Press of Glence and Mathematics Literate Individuals in the Light of Experts’ Opinions. International Council of Association for Science Education: Science Education International Volume 30 Issue 1 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences: Vol.3 No.2 April-June 2019. https://reder.red/learning-experience-canvas-25-02-2020/

Geoffrey A. Moore. (1991). Crossing the Chasm. New York: HarperCollins Publishers.

A. Osterwalder and Y. Pigneur. (2010). Business Model Generation: A Handbook for Visionaries, GameChangers, and Challengers. Wiley, 2010. Mixed Methods Approaches (3rd ed). Los Angeles: SAGE.

Osborn, Alex F. (1963). Applied Imagination. Charles Scribner’s Sons. New York: n.p.

Eberle, R. (1971). Scamper games for imagination development. Bel Air,CA:DOK.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2558). [ออนไลน์]. ยุทธศาสตร์นวัตกรรม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558] จากhttp://www.nia.or.th/nia/strategy/support-mechanism. .

Syahril Syahril, Nizwardi Jalinus, and Rahmat Azis Nabawi. (2018). The Create Skills of Vocational Students to Design a Product: Comparison Project Based Learning Versus Cooperative Learning-Project Based Learning. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, volume 299. 5th UPI International Conference on Technical and Vocational Education and Training (ICTVET 2018)

ศรีสุดา จันทร, นพเรศวร์ ธรรมศรัณยกุล, อรธิดา ประสาร และประกาศิต อนุภาพแสนยากร. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.3 No.2 April-June 2019.

สุวัสดิ์ แสงสุข. เกื้อ กระแสโสม และเดชกุล มัทวานุกูล. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานสิ่งประดิษฐ์ ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (2017): (January – June) วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (มกราคม - มิถุนายน 2560)

เจริญ ขำวารี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัติด้วยกระบวนการสอนรูปแบบ MIAP ร่วมกับ ชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา วารสารเทพสตรี I-TECH ปีที่ 15 เล่มที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2563.