ความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร Opinions of Entrepreneurs on Performance Competencies of Cooperative Education in the Workplace According to Thai Qualifications Framework (TQF) for Higher Education of Management Students, Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon

Main Article Content

พีรญา เชตุพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประชากร คือ เจ้าของสถานประกอบการ หรือผู้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลนักศึกษาสหกิจศึกษา สาขาวิชาการจัดการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเข้าปฏิบัติงานในภาคเรียนที่ 2/2565 ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 84 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 21 - 40 ปี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุงานต่ำกว่า 10 ปี และมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงนักศึกษาสหกิจศึกษา ความคิดเห็นต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ( = 4.67)  และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ( = 4.66)  ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 4.29)  รองลงมาคือ ด้านความรู้ ( = 4.23)  และด้านทักษะทางปัญญา ( = 4.23) ตามลำดับ


คำสำคัญ : สมรรถนะการปฏิบัติงาน สหกิจศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ


ABSTRACT


The purpose of this research was to study entrepreneurs' opinions on performance competencies of cooperative Education in the workplace according to Thai Qualifications Framework (TQF) for Higher Education of management students, Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.  The population were 105 owners of the establishment or the persons assigned to supervise the cooperative education students, in management major, Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology, who worked in semester 2/2022. Data collection is done through questionnaires and statistics, which are used to analyze the data, namely percentage, mean and standard deviation.


The results of the research revealed that most of the respondents were female in the age range of 21 – 40 years old, having a bachelor’s degree and less than 10 years of work experience, as well as serving as mentors for cooperative education students.  Concerning the opinions on performance Competencies of cooperative Education in the workplace according to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF). Overall, it was at a high level
( = 4.41).  When considering each side, it showed that the aspect with the highest level of opinion was morality and ethics ( = 4.67) and inter-personal skills and responsibilities
( = 4.66). The aspects that have opinions at a high level were skills in numerical analysis, communication, and use of information technology ( = 4.29) and followed by knowledge ( = 4.23)  and intellectual skills ( = 4.23), respectively.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (ออนไลน์). ประวัติ โครงสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565. จาก https://www.rmutp.ac.th/ประวัติ-โครงสร้าง

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565. จาก www.bus.rmutp.ac.th.

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2565). หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565).

อรนุช กำเนิดมณี. (2562). ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและผลการเรียนรู้จริงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ. งานวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ

เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2562). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating scale). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565. จาก http://www.ms.src.ku.ac.th

ชนินาถ ทิพย์อักษร และคณะ. (2560). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามความต้องการของสถานประกอบการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. งานวิจัย สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลราชภัฏบุรีรัมย์.

สุนิดา แสงอาวุธ. (2559). มาตรฐานการเรียนรู้ของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามกรอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. การค้นคว้าอิสระ ศิกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรรณิกา นาคพันธ์ แก้วสมุทร์. (2562). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ตามทัศนคติของแห่งฝึกประสบการณ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุปบราชธานี ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562

ฐิติมา จุลจินดา และพัชรินทร์ บุญนุ่น. (2561). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาการบัญชีสถานประกอบการในจังหวัดสงขลาต้องการ. งานวิจัย สาขาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

อินทิรา มีอินทร์เกิด. (2562). การบูรณาการจัดการสหกิจศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการจากการศึกษาพบว่า สมรรถนะการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ (ภายใต้กรอบมาตรฐาน TQF). ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม.