การศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการทำสัญญาและหลักประกัน งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง The study and comparison of dkcontract forms and collateral scheme for design work or construction supervision work
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างของกรมบัญชีกลางกับหน่วยงานรัฐและผู้รับจ้าง ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำสัญญาและหลักประกันของหน่วยงานรัฐและผู้รับจ้าง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน โดยกำหนดประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หน่วยงานของรัฐหรือตัวแทนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญา ร่าง/ตรวจเอกสารสัญญา หรือลงนามในสัญญาและกลุ่มตัวอย่าง เป็นหน่วยงานรัฐ 5 หน่วยงาน และผู้รับจ้าง 5 หน่วยงาน โดยกำหนดหน่วยงานละ 5 ท่านสำหรับแบบสอบถามและ 1 ท่านสำหรับแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยด้านประชากรศาสตร์โดยการแจกแจงความถี่ เป็นจำนวน ร้อยละ ความเบ้ ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลจัดลำดับปัจจัยการจัดทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง ด้วย Relative Importance Index (RII) รวมทั้งจัดลำดับแนวทางการปรับปรุงเพิ่มเติมรูปแบบการจัดทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ด้วย Severity Index (SI) ซึ่งจากการศึกษาสรุปได้ว่ารูปแบบการจัดทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างของหน่วยงานรัฐและผู้รับจ้างยังคงยึดตามแนวทางของกรมบัญชีกลาง และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำสัญญาและหลักประกันของหน่วยงานรัฐและผู้รับจ้างมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านแบบสัญญา ข้อ 5 ข้อตกลงว่าจ้างงานควบคุมงานก่อสร้าง มีค่า RII 96.00% และน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านรูปแบบ ข้อ 2 รูปแบบการจัดทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างของหน่วยงานมีความแตกต่างกับรูปแบบของกรมบัญชีกลาง มีค่า RII 30.64% ในการวิจัยนี้ยังพบว่าแนวทางในการปรับปรุงเพิ่มเติมการรูปแบบการจัดทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพลดผลกระทบที่จะเกิดกับการจัดทำสัญญาและหลักประกันมากที่สุด ได้แก่ ด้านองค์ประกอบของสัญญา ในส่วนของเนื้อหาของสัญญา เรื่องขอบเขตของข้อตกลงและเอกสารแนบท้ายสัญญา มีค่า SI 96.80%
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พรบ. การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (2560). [ออนไลน์]. กรมบัญชีกลาง กองการพัสดุภาครัฐ. [สืบค้นเมื่อ 30 มิถุยายน 2566]. จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/024/13.PDF
Mircea Liviu Negrut, Caius Luminosub, Ana-Andreea Mihartescuc. (2014). Considerations on the Approach of the Contractual Agreement for Construction Works, Politehnica” University of Timisoara. Faculty of Management in Production and Transportation. Remus.
Jaspal Singh NACHATAR, Abdul Aziz HUSSIN, Abdelnaser OMRAN. (2011). Frustration of contract in the malaysian construction contract management, SCHOOL OF housing, building and planning, universiti sains malaysia, pulau pinang, minden, Malaysia.
ทวิชากร ไชยกุล. (2555). การศึกษาสาเหตุของปัญหาความไม่สมบูรณ์ของเอกสารสัญญาก่อสร้าง. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Ercan Erdis. (2012). The effect of current public procurement law on durationand cost of construction projects in turkey. Department of Civil Engineering. Engineering Faculty. Mustafa Kemal University.
กิตติพศ กวีสิทธิสารคุณ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสำหรับคัดเลือกสัญญาก่อสร้างและผลสัมฤทธิ์ของโครงการก่อสร้าง. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Oluwaseun Sunday Dosumu. (2018). Perceived Effects of Prevalent Errors in Contract Documents on Construction Projects, Sustainable Human Settlement and Construction Research Centre. Faculty of Engineering and the Built Environment. University of Johannesburg, South Africa. Department of Building. University of Lagos.
นารี ตัณฑเสถียร. (2563).บทความจากกัลยาณมิตร บทความที่เขียนโดยกัลยาณมิตรของศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ผู้ล่วงลับ สำนักงานอัยการสูงสุดกับงานสัญญาของรัฐ. วารสารกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2563.
พระครูวินัยธรเอก ชินวํโส. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีผลผูกพันตามหลักสัญญาต้องเป็นสัญญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Alan J. McNamara, Samad M.E. Sepasgozar. (2021). Intelligent contract adoption in the construction industry: Concept development. Faculty of Built Environment. Univesity of New South Wales Sydney.
Yasmine Elkhayat, Mohamed Marzouk. (2021). Selecting feasible standard form of construction contracts using text analysis. Structural Engineering Department. Faculty of Engineering. Cairo University.
อดิศร สุรินทร์ธนาสาร. (2557). แนวทางการปรับปรุงสัญญาจ้างก่อสร้างงานขนาดเล็กในประเทศไทย. คณะวิศวกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กฤต โง้วธนสุวรรณ. (2562). การวิเคราะห์ความขัดแย้งและข้อพิพาทในโครงการก่อสร้างโดยใช้วิธีวิทยาคิว. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เจนศักดิ์ คชนิล. (2555). การศึกษาปัญหาและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดจ้างในงานก่อสร้าง. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วงศกร วศินธรรม, สุธาริน สถาปิตานนท์ และวิโรจน์ รุโจปการ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความล่าช้าของผู้รับเหมาในงานก่อสร้างอาคาร. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กมลวัลย์ ลือประเสริฐและจักรกฤษณ์ โพธิ์น้อย. (2553). ข้อพิพาทอันเนื่องมาจากสัญญาในงานราชการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ทวีวุฒิ นามศิร ดร.กอปร ศรีนาวิน. (2558). ปัญหาการบริหารสัญญาก่อสร้างในมหาวิทยาลัยของรัฐ. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาพร คุระนันท์, พัศพันธน์ ชาญวสุนันท์ และสุรพงษ์ ลิวไธสง. (2562). ปัญหาการใช้สัญญาจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างในโครงการก่อสร้างภาครัฐ. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
คู่มือปฏิบัติงานด้านนิติกรรมและสัญญา. (2563). กลุ่มงานนิติกรรมและสัญญา กองนิติการ.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทยา ศรีนรคุตร นฤชล เขื่อนยัง. (2562). คู่มือปฏิบัติงานหลัก เรื่อง การจัดทำสัญญาและตรวจร่างสัญญา. กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่และนิติการ. กองกลาง สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.