การพัฒนาระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิดแบบลีนสำหรับการบริการลูกค้า: กรณีศึกษา A Case Study: The Development of Chatbots System on Lean Thinking for Customer Service

Main Article Content

Rungaroon Porncharoen

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิดแบบลีนสำหรับบริการลูกค้า และ 2) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้ระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิดแบบลีนสำหรับการบริการลูกค้า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้ใช้ข้อมูล จำนวน 9 คน และกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติ จำนวน 40 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย ระบบตอบกลับอัตโนมัติ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิดแบบลีนสำหรับบริการที่พัฒนาขึ้น มีการบริการข้อมูล 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ส่วนการออกแบบ ติดตั้งเครน 2) ส่วนสั่งซื้อสินค้า อุปกรณ์อะไหล่และบริการเสริม และ 3) ส่วนแจ้งซ่อม และเมื่อทำการประเมินคุณภาพของระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิดแบบลีนสำหรับการบริการลูกค้าสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี (x=4.31 , S.D. =0.87) และ 2) ผู้ใช้งานระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิดแบบลีนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของบริษัทมีความพึงพอใจต่อการใช้งานอยู่ในระดับมาก x=4.42, S.D. =0.58 


คำสำคัญ : ระบบตอบกลับอัตโนมัติ, แนวคิดแบบลีน, การบริการลูกค้า 


Abstract


The purposes of this research were 1) to develop a chatbot system on lean thinking for customer service, and, 2) to study satisfaction towards using a chatbot system on lean thinking for customer service. The sample group consisted of 9 people who used the data and 40 customers who came to use the automatic response system by convenience sampling. The research instruments included a chatbot system and a questionnaire on satisfaction towards using a chatbot system on lean thinking. Statistics used for data analysis included arithmetic mean and standard deviation. 


The research results showed that 1) a chatbot system on lean thinking developed had 3 parts of information services: 1) crane design and installation part, 2) product ordering part, spare parts, and additional services, and 3) repair notification part. When evaluating the quality of a chatbot system on lean thinking for customer service, itould support the work with a good level of efficiency (x = 4.31, S.D. = 0.87), and 2) the customer's users of a chatbot system on lean thinking through the company's LINE application satisfaction achievement was at a high level. (x = 4.42, S.D. = 0.58)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภรศิษฐ์ เกิดบ้านชัน ธนภัทร เง็กสูงเนิน และวิระพงศ์ จันทร์สนาม. (2563). การพัฒนาระบบสนทนาอัตโนมัติสำหรับให้บริการข้อมูล บริษัท สมาร์ทคลิก โซลูชั่น จำกัด. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 6(2), 20-30.

อิมรอน แวมง อิสมาแอล พิทักษ์ลาวัลย์ อัฟฟาน มิมอ และพรรณี แพงทิพย์. (2563). การพัฒนาเว็ปแอปพลิเคชันขอใช้บริการถ่ายสำเนาเอกสารทางวิชาการร่วมกับการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันไลน์: กรณีศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 6(2), 61-71.

สิริพงศ์ จึงถาวรรณ. (2559). LEAN ลดต้นทุนธุรกิจ งานเสร็จไว กำไรพุ่ง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์เอ็ดดูเคชั่น ไมน์ด จำกัด.

ธนันท ลัพธวรรณ์. “Chatbot” เมื่อมนุษย์คุยกับ AI. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566, จาก https://www.aiforall.or.th/article/allarticles/intro-to-chatbot/

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอปพลิเคชันไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปการจัดการ. 1(2), 75-88.

ธัญญกร ดีพร้อม ดณุพล ค่ายหนองสวง และวิระพงศ์ จันทร์สนาม. (2563). การพัฒนาระบบตอบคำถามอัตโนมัติ: กรณีศึกษา บริษํท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 6(2), 7-19.

ทิพย์วรรณ ฟูเฟื่อง อนุสรณ์ เจริญนาน วันดี โชคช่วยพัฒนากิจ พงศ์ปณร ทองงาม และเรเน่ ชมิทท์. (2564). การพัฒนาแชทบอทให้ความรู้ด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ครั้งที่ 4, (22 พฤษภาคม 2564), 29-38.

สุธิพัตร์ อินทร์ประเสริฐ มีนนภา รักษ์หิรัญ และมนัสนันทน์ บุญปาลวงศ์. (2563). แชทบอทตอบคำถามโรคประจำตัวของผู้สูงอายุอัตโนมัติ. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. (28 สิงหาคม 2563), 154-162.