พฤติกรรมการบริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

ธิดารัตน์ สิงหบุญพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (2) ศึกษาการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (3) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ(4) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 80 คน โดยใช้การคำนวณด้วยโปรแกรม G*Power ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=3.90) (2) การตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนอาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.19) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศต่างกันมีการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา การนับถือศาสนา และจำนวนเงินที่ได้รับมาในแต่ละวันไม่แตกต่างกัน และปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคมีผลทางบวกต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. (2557). พฤติกรรมการบริโภค : อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5,2 มกราคม-มิถุนายน 257.

สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1. วารสารราชพฤกษ์, 15,1 มกราคม-เมษายน 34-35.

เอกพล บุญช่วยชู. (2559). ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยดุสิต ธานี กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10,2 กรกฎาคม-กันยายน 168.

กรกฎา เกตุเมธาวิทย์. (2556). พฤติกรรมการบริโภคอาหารฟาสฟู๊ดของนักศึกษาเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์. เศรษฐศาสตร์บัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานส่งเสริม และลงทะเบียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วราภรณ์ แสงรัสมี. (2558). “พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.” หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาคณะ ศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2546). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ: 63-72. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจริญพัฒน์.

เจณิภา คงอิ่ม. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สุมิตา เปรมปราศภัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขต อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์. สาขาการจัดการ. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.