The The Development of Video Content for Public Relations The Department of Educational Communications and Technology Using A Problem Agitate Solve Storytelling Technique -

Main Article Content

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve 2) เพื่อประเมินคุณภาพวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve ที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) วิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอของวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve 3) แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแจงร้อนวิทยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ดำเนินการโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากผู้ที่เคยรับชมวิดีโอคอนเทนต์และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 40 คน ซึ่งผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ( = 4.50, S.D. = 0.72) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี ( = 4.33, S.D. = 0.53) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.99) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = 0.74) ดังนั้น วิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพร วรคุณวิเศษ, 2556, การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, หน้า 44.

Harad, K. C. ,2016, “Don’t avoid content marketing”. Journal of Financial Planning, vol.29 no.7, p. 20-22, 2016.

เอกกนก พนาดำรง, 2559, การเขียนเรื่องเล่า ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง (Story telling), งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, กรุงเทพมหานคร, หน้า 194.

Heil, E. (2022), " Behind the Scenes: Simple Explanation of the Video Production Process" [Online],

Available : https://www.storytellermn.com/blog/video-production-process. [Accessed: December 20, 2023].

สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, (2561), กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก, [Online], Available :

https://borc.anamai.moph.go.th/webupload/24xe82d9421a764bd38b31a4171c44f37a6/filecenter/KPI64/F1/Level1/F1-1-15.pdf. [18 ธันวาคม 2566].

Admission Premium, ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน, [Online], Available : https://www.u-review.in.th/th/edu/34322. [Accessed: November 20, 2023].

พรปภัสสร ปริญชาญกล. (2566). รองหัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, ผู้ให้สัมภาษณ์. [28 สิงหาคม 2566].

Chaengron Wittaya School, จำนวนประชากรนักเรียน. [Online], Available : https://sites.google.com/chaengron.ac.th/chaengronwittayaschool/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81 [28 สิงหาคม 2566].

Krupee,2552, เกณฑ์การแปลผลที่เหมาะสมที่สุดของ Rating Scale, [Online], Available : https://krupee.blogspot.com/2009/09/rating-scale.html [20 ธันวาคม 2566].

จำนง สันตจิต, 2556, ADDIE MODEL, [Online], Available : https://www.gotoknow.org/posts/520517%20สืบค้นเมื่อวันที่%2028 [20 พฤศจิกายน 2566].

รัฐพล ลิ้มตรีวรศักดิ์, 2560, การพัฒนาชุดสื่อประชาสัมพันธ์ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบอินโฟกราฟิก ร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) สำหรับชุมชนกระบวนกร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า ข, 147-174.

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, พรปภัสสร ปริญชาญกล, ศุภาพิชญ์ ศิลาวรรณ, อรอารียา ฉั่วตระกูล และ ธนิศา วิเชียรศิลป์, 2566, การสร้างวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ส่วนส่งเสริมรายการ บมจ. อสมท โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve [Online], Available : https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/249895/169213 [1 กรกฎาคม 2566].

สุภรดา เอี่ยมบริสุทธิ์, อภิสรา สารสิทธิ์, กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และพรปภัสสร ปริญชาญกล, 2566, การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบนิทรรศการออนไลน์โดยใช้ผู้นำเสนอเเบบอวทาร์ผ่านการเล่าเรื่องแบบ Features-Advantages-Benefits [Online], Available : https://kirim.kmutt.ac.th/converis/portal/detail/Publication/1332206235;jsessionid=m4868KYkhGboZkhmBesSorPdU01uByzjkWGMZRV9.kirim-web?lang=de_DE [1 ตุลาคม 2566].

ณัฐวุฒิ สง่างาม, 2554, การสร้างแบรนด์ด้วยการตลาดสีเขียวของกระดาษไอเดียกรีน, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ธุรกิจ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, หน้า 13.

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, พรปภัสสร ปริญชาญกล, เตชิต เสาะแสวง และธนกร มนตรีพิศุทธิ์, 2566, การพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Feature Advantage Benefit เพื่อประชาสัมพันธ์รายการ 9th Stadium [Online], Available : https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/249894/169212 [1 ตุลาคม 2566].

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, พรปภัสสร ปริญชาญกล, ชลธิชา ศรีมงคล, วันวิสา มณีพรรณ และสุนันทา ศรีฟ้า, 2565, การพัฒนาสื่อวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ศูนย์หนังสือพระจอมเกล้าธนบุรี [Online], Available : https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/246023/167216 [1 ตุลาคม 2566].