ความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ อาชีวศึกษาแห่งชาติ กรณีศึกษา : นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ หลักสูตร ทล.บ. วท.อุตสาหกรรมยานยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ กรณีศึกษา : นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ ประชากร คือ เจ้าของสถานประกอบการ หรือผู้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ เข้าปฏิบัติงานในภาคเรียนที่ 2/2565 จำนวนทั้งสิ้น 19 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเป็นเพศชาย มีอายุ 21-30 ปี วุฒิการศึกษาปริญญาตรี มีอายุงานต่ำกว่า 10 ปี และมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนก/ หัวหน้างาน ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ ด้านทักษะปฏิบัติ รองลงมาคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความรู้ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์. (2564). รายงานผลการประเมินตนเอง
(Self Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564. วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์
อาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ.
วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์. (ม.ป.ป.). ข้อมูลด้านสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่
เมษายน 2566 จาก https://sites.google.com/aitc.ac.th/ปการศกษา2565/1-ขอมลดาน-สถานศกษา
พีรญา เชตุพงษ์ และคณะ. (2564). ความพึงพอใจของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต กรณีศึกษา : แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. งานวิจัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2552. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2562). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า
(Rating scale). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565. จาก http://www.ms.src.ku.ac.th
ภาพพิมพ์ พรหมวงศ์. (2560). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม
ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม
มหาวิทยาลัยนครพนม. (22 กุมภาพันธ์ 2560).
นิพนธ์ วรรณเวช และคณะ. (2557). การศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตของผู้ใช้บัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาราชภัฏกาญจนบุรี.
กรกนก อนรรฆธนะกุล. (2556). คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของสาขาวิชาการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการโรงแรม
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลธัญบุรี.
บรรจบพร อินดี และคณะ. (2557). การสำรวจคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์
ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการการท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สุนิดา แสงอาวุธ. (2559). มาตรฐานการเรียนรู้ของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามกรอบมาตรฐาน
คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลรัตนโกสินทร์. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2558). ผลการประเมินคุณภาพบัณฑิต
ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
งานวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.