รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของแผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา MODEL OF EXCELLENCE ADMINISTRATION FOR THE DEPARTMENT OF INFORMATION TECHNOLOGY TO INNOVATOR IN AYUTTHAYA TECHNICAL COLLEGE

Main Article Content

ฉัตราสิณี พิรหิรัณย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ ของวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา 2) พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศแผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา และ 2) ประเมินความพึงพอใจในรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ครูแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา จำนวน 7 คน และ 2) นักเรียน-นักศึกษา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการบริหาร ดังนี้ I AM 5Q Model และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจแบ่งตามเป้าหมาย 5Q คือ ด้านผู้เรียนคุณภาพ (Quality Student) ด้านผู้สอนคุณภาพ (Quality Teacher) ด้านผู้บริหารคุณภาพ (Quality Director) ด้านห้องเรียนคุณภาพ (Quality Classroom) และ ด้านสถานศึกษาคุณภาพ (Quality College) สถิติที่ใช้ในงานวิจัย การหาค่าเฉลี่ย (equation) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) ผลการวิจัย พบว่า 1)  2) การพัฒนารูปแบบการบริหาร ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 1) รูปแบบ ประกอบด้วย ทำทันที พัฒนาทัศนคติ การกระตุ้น สมรรถนะ และ 2) เป้าหมาย ประกอบด้วย เป้าหมายของรูปแบบ ประกอบด้วย ด้านผู้บริหารคุณภาพ ด้านครูคุณภาพ ด้านห้องเรียนคุณภาพ ด้านสถานศึกษาคุณภาพ ด้านผู้เรียนคุณภาพ และ 2) ความพึงพอใจ ด้านผู้บริหารคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( equation = 4.90, S = 0.10) ด้านครูคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( equation = 4.90, S = 0.10) ด้านห้องเรียนคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( equation = 4.90, S = 0.10) ด้านสถานศึกษาคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( equation = 4.85, S = 0.15) และ ด้านผู้เรียนคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( equation = 4.70, S = 0.30) จึงส่งผลให้รูปแบบการบริหาร I AM 5Q Model มีความพึงพอใจตามเป้าหมาย 5Q ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( equation = 4.84, S = 0.16) I AM 5Q Model

Article Details

How to Cite
พิรหิรัณย์ ฉ. (2024). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของแผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา: MODEL OF EXCELLENCE ADMINISTRATION FOR THE DEPARTMENT OF INFORMATION TECHNOLOGY TO INNOVATOR IN AYUTTHAYA TECHNICAL COLLEGE. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 7(1), 200–215. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/271353
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). [ออนไลน์]. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2551. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566]. จาก http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). [ออนไลน์]. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2562 ปรับปรุง พ.ศ. 2565 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566]. จาก http://bsq2.vec.go .th/course/2556/2-05-56/6%20เทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). [ออนไลน์]. พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566]. จาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1.-พรบ.-การอาชีวศึกษา-2551.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). [ออนไลน์]. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ.2563 ปรับปรุง พ.ศ. 2565 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566]. จาก http://bsq2.vec.go.th/course/2556/2-05-56/6%20เทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). แนวนทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน.พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2551). [ออนไลน์]. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566]. จาก https://www.princess-it.org/images/book/ict_integration.pdf

ชนิกานต์ เธียรสูตร. (2551). [ออนไลน์]. วงจร PDCA คืออะไร?. [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566] จาก http://www.cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/2163/1/ธืตืนัเดดา%20สิงห์แก้ว_2562.pdf

Stufflebeam, D.L. (2003). The CIPP model for evaluation, in T.Kellaghan and D.L Stufflebeam (eds) pp. 31-62, International Handbook of Educational Evaluation. Netherland: Kluwer Academic Publicshers.

จีรพันทร์ หอมสุวรรณ. (2556). [ออนไลน์]. การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม. [สืบค้นเมื่อวันทื่ 12 มีนาคม 2567] จาก http://www.cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/1/F432999.pdf

ปุญชรัศมิ์ พันธุวัฒน์. (2560). [ออนไลน์]. การพัฒนารูปแบบการบริหารของโรงเรียนพร้าววิทยาคม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567]. จาก http://cmruir.cmru.ac.th/handle/1239/1494

เรวัตร แก้วทองมูล. (2562). [ออนไลน์]. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่มาตรฐานการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567]. จาก esearch.otepc.go.th/files/ 7rr3y5su.pdf

อภัย ภัยมณี. (2565). [ออนไลน์]. รูปแบบการบริหารสถานศึกษา PATONG Model. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567]. จาก http://www.ppkschool.ac.th/work-detail_33719

วงษ์เดือน ทองคำ. (2563). [ออนไลน์] รูปแบบการบริหาร PASSWORD MODEL. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567] จาก https://fth0.com/uppic/13101572/news/13101572.pdf

พุทธิภา เหล็กคงสันเทียะ. (2562). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสํานกงานเขตพื่นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. ปีที่ 7. ฉบับที่ 1. 205 - 223

กระกรวงศึกษาธิการ. (2560). [ออนไลน์] แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567] จาก https://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf