การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต Management Model Development Linking Course Competencies of Vocational Education with Basic Education of PHUKET TECHNICAL COLLEGE

Main Article Content

ระวิ ดาบทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ตพร้อมคู่มือ 3) ดำเนินการตามคู่มือรูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต และ 4) ประเมินผลการดำเนินการตามคู่มือรูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ดำเนินการวิจัยใน  4 ขั้นตอน ดังนี้ การดำเนินการเริ่มจาก
1) การสรุปผลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับบริบทของวิทยาลัย เทคนิคภูเก็ต นำไปสอบถามความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับบริบทของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต โดยเลือกแบบเจาะจง จาก ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และจากสถานศึกษาที่เป็นเครือข่าย จำนวน 31 คน สรุปเป็นร่างรูปแบบ  2) การประชุมกลุ่มย่อยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อทบทวนร่างรูปแบบ และสรุปจัดทำเป็นรูปแบบพร้อมคู่มือฉบับร่าง นำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน 9 คน เพื่อประเมินอีกครั้ง สรุปเป็นรูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ประกอบด้วย 3 โครงการ 1 กิจกรรม  3) การดำเนินการตามรูปแบบและคู่มือ ตามโครงการและกิจกรรม ดังนี้  (1) โครงการพัฒนาหลักสูตรการเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) โครงการพัฒนาคู่มือเทียบโอนรายวิชาหลักสูตรการเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) โครงการพัฒนาครูผู้สอน ให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรการเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (4) กิจกรรมการเทียบโอนรายวิชาหลักสูตรการเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   และ 4) การประชุมกลุ่มย่อยเฉพาะกิจเพื่อประเมินผลการดำเนินการตามคู่มือรูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต


ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวมผู้เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับแนวทางการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ในระดับมากที่สุด
2) ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับรูปแบบและคู่มือที่พัฒนาขึ้นในระดับมากที่สุด  3) ผลการดำเนินการตามคู่มือรูปแบบ พบว่า (1) ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทั้ง 15 รายวิชา ในภาพรวม อยู่ในระดับในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด (2) ผลการประเมินคู่มือเทียบโอนรายวิชา พบว่า ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อคู่มือเทียบโอนรายวิชา ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมการพัฒนาคู่มือเทียบโอนรายวิชาที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด (3) ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อแผนการสอนรายวิชาทั้ง 15 รายวิชา ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของ
ผู้เข้าอบรมที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด  และ (4) ความพึงพอใจของผู้ดำเนินการและผู้ขอรับเทียบโอนรายวิชาที่มีต่อกิจกรรมการเทียบโอนรายวิชา ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด และ 4)  ผลการประชุมกลุ่มย่อยเฉพาะกิจ ผลการดำเนินการตามรูปแบบและคู่มือของผู้เกี่ยวข้องกับการตามรูปแบบและคู่มือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ดาบทอง ร. (2024). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต: Management Model Development Linking Course Competencies of Vocational Education with Basic Education of PHUKET TECHNICAL COLLEGE. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 7(1), 99–113. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/272027
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3).กรุงเทพมหานคร : บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัตืการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : บุญศิริการพิมพ์

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552).ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

สุมาลัย บุญรักษาและญาณภัทร สีหะมงคล (2562). การประเมินโครงการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร. หลักสตูรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.