ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานสะตีมเป็นฐาน เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 The Effects of STEAM Project Based Learning Focusing on Engineering Design Process to Enhance the Innovative Creativity of Grade 11 Students.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้โครงงานสะตีมเป็นฐาน เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรร 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานสะตีมเป็นฐาน เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจ่านกร้อง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานสะตีมเป็นฐาน เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ 3. แบบประเมินนวัตกรรมสร้างสรรค์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้โครงงานสะตีมเป็นฐาน เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม มีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียน 2) ผลศึกษานวัตกรรมสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานสะตีมเป็นฐาน เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยรวมอยู่ในระดับที่ดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด, หน้า 1-2.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2564 - 2570). (2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258, หน้า 22-24.
Yakman, G. G. (2008). STEAM Education: An overview of creating a model of integrative education.
Tongchai, A. (2016). The importance of engineering in science learning management In the 21st century. Kasetsart Educational Review,31(3), 48-53. [in Thai]
The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2014). Basic knowledge of STEM Education. Bangkok: The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. [in Thai]
สุธิดา การีมี. (2560). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา (The use of Engineering Design Process to enhance creativity and problem solving skills.). สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. https://oho.ipst.ac.th/edp-creative-problem-solving1/
มาเรียม นิลพัน .(2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฐิฏิภัทร์ เดชพิพัฒน์วรกุล, กฤษณา คิดดี, และ ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานสะตีมเป็นฐานด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 25(1), หน้า 126.
สมรัก อินทวิมลศรี. (2560). ผลของการใช้แนวคิดสะตีมศึกษาในวิชาชีววิทยาที่มีต่อความคิด สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนของนกัเรียนชนั้มธัยมศกึษาปีที่4. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. หน้า 89.
Wandari G.A., Wijaya A.F.C. and Agustin R.R. (2018). The effect of STEAM-based learning on students’ concept mastery and creativity in learning light and optics. Journal of Science Learning, 2(1). 26-32.
Thuneberg H.M.,Salmi H.S. and Bogner F.X. (2018). How creativity, autonomy and visual reasoning contribute to cognitive learning in a STEAM hands-on inquiry-based math module. Thinking Skills and Creativity, 29. 153-160.
รัฐพงษ์ โพธิรังสิยากร. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะตีมศึกษา ที่มีต่อวามคิดสร้างสรรค์และผลสัฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร. หน้า 77-83.
พงศกร พรมทา. (2561). การพัฒนากิจกรรมสะตีมศึกษา เรื่อง พันธะเคมี: ผ้าฝ้ายกันน้ำเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถนอมขวัญ วิบูลย์ธนสาร. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวสะตีมศึกษา เรื่อง พันธะเคมีเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรัชญา ซื่อสัตย์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์หุ่นกระบอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันชัย น้อยวงค์ และภิญโญ วงษ์ทอง. (2563). วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 3(2), หน้า 187.
เอกพร ธรรมยศ. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการแยกสาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Taylor, C. (1964). Creativity : Progress and Potential. New York: McGraw-Hill.
ปัทมา ศรีมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมระดับบุคคล : กรณีศึกษา พนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่). สารนิพนธ์, หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริม ทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา, 13(1), หน้า 246-265.
ลักขณา สริวัฒน .(2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวร .(2561). ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน. http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486.
วิชาญ เพ็ชรทอง. (2559). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนากระบวนการสร้างชิ้นงาน เพื่อประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงาน รายวิชา การวัดและ การควบคุมทางอุตสาหกรรม. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. หน้า 22
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2561). ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. https://www.gotoknow.org/posts/341272