แนวทางการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ Guidelines for Developing Competency-Based Learning Management Plans According to the Professional Qualifications Framework.

Main Article Content

ปิติภาคย์ ปิ่นรอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพประกอบด้วย 5 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 ใช้งานเดิม เสริมสมรรถนะ แนวทางที่ 2 ใช้งานเดิม ต่อเติมสมรรถนะ แนวทางที่ 3  ใช้รูปแบบการเรียนรู้ สู่การพัฒนาสมรรถนะ แนวทางที่ 4 สมรรถนะเป็นฐาน ผสานตัวชี้วัดส่วน และแนวทางที่ 5  สมรรถนะชีวิตในกิจวัตรประจำวัน ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพมีสิ่งที่ต้องคำนึงที่สำคัญ คือ การกำหนดสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาผู้เรียน และสมรรถนะมีความชัดเจน วัดผลได้ และสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนผ่านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม กิจกรรมควรหลากหลาย ท้าทาย และสอดคล้องกับสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาและบริบท ส่วนการวัดผลและประเมินผลผู้เรียนแบบเน้นสมรรถนะ วิธีการวัดผลและประเมินผลจะต้องหลากหลาย ครอบคลุม ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยบทบาทของครูมีความสำคัญมากที่สุดเพราะครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้นำ สนับสนุน และประเมินผลผู้เรียน ดังนั้นครูจึงควรมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
ปิ่นรอด ป. (2024). แนวทางการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ: Guidelines for Developing Competency-Based Learning Management Plans According to the Professional Qualifications Framework. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 7(2), 1–16. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/273587
บท
บทความวิจัย

References

ประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2567. (2567, 2 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 141.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี กรุงเทพมหานคร.

Scott, J. (1990). A Matter of Record: Documentary Sources in Social Research. Cambridge: Policy Press.

———. Social Research and Documentary Sources. (2006). Sage Benchmarks in Social Research Methods, Documentary Research Volume 1. SAGE Publication.

McClelland, David C. (1973). Testing for Competence Rather Than for Intelligence. American Psychologist, 17(7), 57-83.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Goleman, D. (2011). The brain and emotional intelligence: New insights into resilience, creativity, and leadership. Bantam Books.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

รัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม. (2550). สมรรถนะในวันวาน วันนี้และพรุ่งนี้ ในพระราชบัญญัติ ระเบียบ ข้าราชการ. พลเรือน ฉบับใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สุวัทนา สงวนรัตน์ และชวน ภารังกูล. (2564. หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะใน สถานศึกษา.วารสารสิรินธรปริทรรศน์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม-ธันวาคม 2564.

ปิติภาคย์ ปิ่นรอด. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเชิง

พาณิชย์สู่ประเทศไทย 4.0 ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2566) : วารสารวิชาการวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการ

อาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร.