แนวทางการฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับทุกคนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน Vocational Training Guidelines for Everyone to Produce and Develop Manpower
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อช่วยเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาและสถานการณ์จริงในตลาดแรงงาน โดยช่วยให้ผู้คนได้พัฒนาตัวเองให้มีความเชี่ยวชาญและมีความพร้อมในการทำงานในสาขางานที่ต้องการ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศด้วยการมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับทักษะและความรู้ที่เป็นประสบการณ์จริง บทความนี้เสนอแนะแนวทางในการฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อตอบสนองการพัฒนากำลังคนและความยั่งยืนของประเทศ ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพและความสามารถในการทำงานด้วยระบบการจัดการศึกษาสำหรับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา ทุกความต้องการ เพื่อตอบสนองรูปแบบการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การเรียน (Studying) การฝึกอบรม (Training) และ การเรียนรู้ (Learning) เพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษา เพิ่มโอกาสการฝึกทักษะ เพิ่มโอกาสการฝึกประสบการณ์อาชีพเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้กับผู้เรียนใน 3 แนวทาง ดังนี้
1) การฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาด้วยหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นแกนประถม-มัธยม เพื่อตอบสนองผู้เรียนวัยก่อนเข้าสู่สายอาชีพและโครงการห้องเรียนอาชีพ เพื่อตอบสนองผู้เรียนในระบบ ระดับชั้นมัธยมศึกษา
2) การฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับวัยทำงาน ด้วยหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Upskill/Reskill) เพื่อตอบสนองผู้เรียนในวัยทำงาน
3) การฝึกอบรมวิชาชีพด้วยตนเอง ด้วยหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นสำหรับอาชีพหลัก อาชีพรอง อาชีพใหม่ และรูปแบบการฝึกอบรมวิชาชีพรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย เพื่อตอบสนองผู้เรียนตามอัธยาศัยที่อยู่นอกวัยเรียนและหลังเกษียณ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
United Nations. (2015). Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development. New York: United Nations.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 . กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2567). นโยบายการพัฒนาอาชีวศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
“พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551,”. (26 กุมภาพันธ์ 2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 43 ก. หน้า4.
ลภัสรดา ธนพันธ์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและกลไกเข้าสู่ระบบปริญญาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน (Doctoral dissertation, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1039.
OECD. (2023).Foreword. OECD reviews of vocational education and training, doi: 10.1787/0908eb0a-en
Gupta, S., & Dutta, A. (2021). Upskilling and reskilling the workforce for the digital age: An empirical study. Journal of Business Research, 132, 628-640.
Kim, K., & Lee, J. (2019). Designing effective training programs for adult learners: A case study of a Korean company. Human Resource Development International, 22(3), 330-347.
Liu, S., & Tymon, A. (2020). The impact of industry 4.0 on the employability of graduates: A systematic literature review. Sustainability, 12(18), 7564.
ประชาชาติ ชัยพรหม. (2020). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนแต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(3), 102-113.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการดำเนินงานโครงการห้องเรียนอาชีพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). แนวทางการจัดการศึกษารูปแบบการศึกษานอกระบบ แบบมีชั้นเรียน. กระทรวงศึกษาธิการ.
Bauer, T. N., Erdogan, B., Bodner, T., Truxillo, D. M., & Tucker, J. S. (2019). Newcomer adjustment during organizational socialization: A meta-analytic review of antecedents, outcomes, and methods. Journal of Applied Psychology, 104(12), 1423–1447.
Salas, E., Tannenbaum, S. I., Kraiger, K., & Smith-Jentsch, K. A. (2019). The science of training and development in organizations: What matters in practice. Routledge.
Knowles, M. S. (2020). The adult learner: The definitive classic in adult education and human resource development (9th ed.). Routledge.
Cunningham, I. (2021). Self-directed learning. In The Palgrave handbook of workplace learning and development (pp. 287-304). Palgrave Macmillan, Cham.
Reimers, F. M., & Schleicher, A. (2020). A framework to guide an education response to the COVID-19 Pandemic of 2020. OECD.
Iqbal, F., & Qureshi, I. A. (2020). Microlearning: A new trend in learning. Journal of Educational Technology, 17(1), 1-10.
Crompton, H. (2019). Mobile learning: Transforming the delivery of education and training. Journal of Learning for Development, 6(1), 1-12.
Noe, R. A. (2020). Employee training and development (8th ed.). McGraw-Hill Education.
อ้างอิงจากรูปภาพ
กิตติศักดิ์ ชยันตร์สุภาพ. (2567). แผนภาพแสดงแนวทางการฝึกอบรมวิชาชีพ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการฝึกอบรมที่หลากหลายและปัจจัยที่ควรพิจารณาในการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม [แผนภาพ].