รูปแบบการสร้างชุมชนวิชาชีพออนไลน์เพื่อหนุนเสริมความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูปฐมวัย

Main Article Content

สุภาณี เส็งศรี
ธงชัย เส็งศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนวิชาชีพออนไลน์เพื่อหนุนเสริมความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างชุมชนวิชาชีพออนไลน์เพื่อหนุนเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูปฐมวัย (2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบสร้างชุมชนวิชาชีพออนไลน์เพื่อหนุนเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูปฐมวัย และ (3) เพื่อจัดทำแนวทางการนำรูปแบบการสร้างชุมชนวิชาชีพออนไลน์เพื่อหนุนเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูปฐมวัย  แหล่งข้อมูล คือผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คน โดยการเจาะจงตามคุณสมบัติ และ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูปฐมวัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สมัครใจเข้าร่วมใช้รูปแบบโดยผ่านความเห็นชอบของผู้บริหารระดับสถานศึกษา จำนวน
15 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) รูปแบบการสร้างชุมชนวิชาชีพออนไลน์เพื่อหนุนเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูปฐมวัย (2) แผนกิจกรรมตามรูปแบบเพื่อสร้างชุมชนวิชาชีพออนไลน์ (นักวิจัย) (3) ชุมชนวิชาชีพออนไลน์ครูปฐมวัย (4) แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรม-สังเกตการมีส่วนในชุมชนวิชาชีพออนไลน์ของครูปฐมวัย (5) แบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของครูปฐมวัย และ (6) ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายการสร้างชุมชนวิชาชีพออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบนี้มีชื่อว่า “A-P-E-S-2C Model”  (2) การทดลองรูปแบบด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ พบว่า รูปแบบนี้สามารถส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูปฐมวัยในระดับมาก โดยมี (3) ข้อเสนอแนวทางการนำรูปแบบนี้ไปขยายผล และ ประยุกต์ใช้ มี 7 แนวทางหลัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รัฐกุล, ห้างหุ้นส่วนจำกัด (2563) หน้าที่ของคุณครูปฐมวัย…บทบาทที่ยิ่งใหญ่ เป็นมากกว่าอาชีพ

https://www.rathakun.com/teacher-action/.

UNESCO : องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาชาติ ใน สำนักงานเลขาธิการ

คุรุสภา. (2550) สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส

ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว

http://portal.psclib.com/ksp/ebooks/0118.pdf.

Shaeffer, Sheldon : ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกของ UNESCO ใน สำนักงาน

เลขาธิการคุรุสภา. (2559) สารานุกรมการศึกษาร่วมสมัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน-

ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว. เข้าถึงได้จาก http://portal.psclib.com/ksp/ebooks/0117.pdf

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2560) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน:

แนวคิดและแนวทางสู่ความสำเร็จ วารสารครุศาสตร์ 45:1 (2017) 299 - 319

https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/106153/84095.

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2552). การศึกษาผ่านบทเรียน (Lesson Study). : ทางเลือกใหม่เพื่อพัฒนาการเรียน

การสอน. วารสารครุศาสตร์, 37(3), 131-149.

Darling-Hammond, L. (1999). Teacher Quality and Student Achievement: A Review of State

Policy Evidence. Education Policy Analysis Archives, 8(1), 1 – 44. Brookfield, S. D., &.

Brookfield, S. (1995). Becoming a critically reflective teacher. San Francisco: Jossey-Bass.

Siwanad@codium. (n.d.) Digital Transformation ฟังยากเเต่เริ่มง่าย วิธีเปลี่ยนการทำงาน

“แบบเดิม” สู่ยุค “ดิจิทัล” เข้าถึงได้จาก https://www.codium.co/blogs/2-How-to-transform-

traditional- work-into-the-digital-age.

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2558). การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS). ใน บังอร เสรีรัตน์, ชาริณี ตรี

วรัญญู, & เรวณีชัย เชาวรัตน์ (Eds.), 9 วิถีสร้างครูสู่ศิษย์เอกสารประมวลแนวคิดและแนวทางพัฒนา

วิชาชีพครูสำหรับคณะทำงาน : โครงการพัฒนาระบบกลไกและแนวทางหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทาง

วิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.

สุภาณี เส็งศรี และ ธงชัย เส็งศรี. (2567) ปัจจัยการสร้างเสริมศักยภาพทางวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้

ของครูนวัตกร ในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรม

สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. 7(1) : 231-246.

https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/273040.

ธงชัย เส็งศรี. (2560) ระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ.

คลังปัญญามหาวิทยาลัยบูรพา. https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/7145?mode=full

Annenberg Institute for School Reform. (2013). Professional Learning Communities:

Professional Development Strategies that improve instruction.

http//www. Annenberginstitute.org/pdf/proflearning.pdf.

Bug, L. (2018). K-8 Teacher Blended Learning Professional Development, NGSS, and

Communities of Practice : A Mixed Methods Study. ProQuest LLC.

https://eric.ed.gov/?id=ED588273.

Matzat, U. (2013). Do blended virtual learning communities enhance teachers'

professional development more than purely virtual ones? A large scale empirical

comparison. Computers & Education, 60(1), 40-51.

https://doi.org/10.1016/j.compedu.2012.08.006.

Samcharoen, K. (2566) Active Learning แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเชิง.

https://km.spu.ac.th/article.cfm?article_id=5F62546F-0148-D5FA-74B4D7606ED05F51.

Sweller, J.(2006). The worked example effect and human cognition: Learning and

Instruction. New Jersey : Educational Technologies.

สมาคมครูปฐมวัยแห่งประเทศไทย. (2564). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ:

สมาคมครูปฐมวัยแห่งประเทศไทย.

Aini, Kustono, Dardiri and Kamdi. (2016). Work – Based Learning for enhancing the

capacity of engagement: Lesson from Stakeholders perspective literature.

https://aip.scitation.org/doi/abs/10.1063/1.4965786.

สุภาณี เส็งศรี และ บุหงา วชิระศักดิ์มงคล. (2567) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการพัฒนา

ครู โดยใช้ PLC : หลักการ และปฏิบัติการ. พิษณุโลก : นวมิตรการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2559) สารานุกรมการศึกษาร่วมสมัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน-

ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว. http://portal.psclib.com/ksp/ebooks/0117.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545) พระราชบัญญัติการศึกษา

พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf.

คุรุสภา. (2562) แนวทางการดำเนินการ PLC ของคุรุสภา.

https://patomporn2523.blogspot.com/2019/08/plc-3-1.html.

วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง, มนตรี แย้มกสิกร, ทยาตา รัตนภิญโญวานิช, อมลวรรณ วีระธรรมโม, และ ปิยาภรณ์

พิชญาภิรัตน์. (2564) การประเมินการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ของเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร.

(1).