รูปแบบการเพิ่มศักยภาพเพื่อการเป็นนักวิจัยนวัตกรรมของนักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิต ในสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 Increasing Potential Model to Be an Innovation Researcher for Graduate Technology Students in Institute of Vocational Education Central Region 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของนักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิต 2) สร้างรูปแบบการเพิ่มศักยภาพเพื่อการเป็นนักวิจัยของนักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิต และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเพิ่มศักยภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็นนักวิจัยของนักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ นักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิต จากวิทยาลัยที่สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 จำนวน 5 แห่ง แห่งละ 10 คน รวม 50 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพการเป็นนักวิจัยของนักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิตประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ด้านการแสวงหาความรูป ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยนวัตกรรม ด้านการคิด ด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง ด้านการเรียนรู้ระเบียบวิธีวิจัย และด้านการสื่อสาร 2) รูปแบบการเพิ่มศักยภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของนักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิตที่พัฒนาแล้ว มีลักษณะ 4 ประการ คือ ส่งเสริมให้รู้จักและเข้าใจตนเอง ส่งเสริมให้สร้างทีมและทํางานเป็นทีม ส่งเสริมให้เรียนรู้และพัฒนาตนเองด้วยการลงมือทําวิจัยนวัตกรรมด้วยตนเอง และส่งเสริมให้สะท้อนความคิดในการเรียนรู้ของตนเอง โดยมีขั้นตอนการจัด การเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นประสบการณ์ ขั้นนําเสนอ ขั้นอภิปรายและสรุป และขั้นสะท้อนความคิดและ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเพิ่มศักยภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของนักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิตพบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว้าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในด้านการรับรู้ตนเองเกี่ยวกับศักยภาพการเป็นนักวิจัยทุกด้าน และเกี่ยวกับความสามารถใน การเสริมพลังการทํางานในตนเองและยังสอดคล้องกับผลการประเมินตามสภาพจริงอีกด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Page, N.; & Czuba, C.E. (1999. October). Empowerment: What Is It? (Online). Available http://www.joe.org/joe/1999 October/comm1.html. Retrieved February 23, 2003.
จารุวรรณ ศิลปะรัตน์. (2548). การพัฒนารูปแบบการเพิ่มศักยภาพเพื่อพัฒนาศักยภาพการเปนนักวิจัยของนักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิตอนุบาล ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Guttierrez, L.M.; Parsons, R.J.; & Cox, E.O. (1998). Empowerment in Social Work Practice :A Sourcebook. Pacific Grove : Brooks / Cole.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). หลักคิดพื้นฐานในการวิจัยและการสังเคราะห์งานวิจัยนวัตกรรมในชั้นเรียน ในเกาก้าวในการวิจัยนวัตกรรมและการสังเคราะห์งานวิจัย. หนังสือเผยแพร่ในโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : นิชินแอดเวอร์ ไทซิ่ง กรุป.
รัตนา เพชรอุไร. (2542). ประสบการณ์และวิธีการบริหารงานวิจัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ. ประชาคมวิจัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลยศรี. (2556). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพครั้งที่ 8.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2553). หลักการวิจัยทางสังคม. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
บุปผา ศิริรัศมี, จรรยา เศรษฐบุตร และเบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. (2544). จริยธรรมสำหรับการศึกษาวิจัยในคน. เอกสารวิชาการหมายเลข 258. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. มหาวิทยาลัยมหิดล.