การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการสอนแบบ Google Classroom และการสอนแบบปกติ วิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชีของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการบัญชี วิทยาลัยเทคนิคนครนายก A Comparison of Academic Achievement by Google Classroom and Regular Teaching Method on Accounting Information System Course of Accounting Technology Students, Nakhonnayok Technical College
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) หาประสิทธิภาพของบทเรียนวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่นำไปใช้ในการสอน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการสอน ที่ใช้รูปแบบ Google Classroom และรูปแบบการสอนแบบปกติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Google Classroom กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการบัญชี วิทยาลัยเทคนิคนครนายก เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 40 คน แบ่งออกได้เป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาระบบสารสนเทศทาง การบัญชีในภาคเรียนที่ 2/2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี การสอนรูปแบบ Google Classroom แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี สถิติที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ ค่าร้อยละ,ค่าเฉลี่ย,ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าคะแนนที
ผลของการศึกษาวิจัย พบว่า
- ประสิทธิภาพของบทเรียนวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่นำไปใช้ในการสอนมีประสิทธิภาพ 82.04/80.44
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
- ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Google Classroom มีความพึงใจในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จตุรภัทร ประทุม. (2559). [ออนไลน์]. แนวทางการจัดการเรียนการสอนด้วย GOOGLE CLASSROOM. http://oho.ipst.ac.th/google-classroom-learningapproach/.
ฉันท์ทิพย์ ลีลิตธรรม และพรเพ็ญ เอกเอี่ยมวัฒนกุล. (2558). Journal of Mass Communication Technology, หน้า 20-25. RMUTP Issue 1 Volume 1 January - June 2016.
ภาสกร เรืองรอง. (2558). การใช้เทคโนโลยี Google Apps ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน (The use of Google Apps in the development of innovative Teaching). ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3.(2564). ข้อมูลพื้นฐานนักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิต สถาบันการอาชีวศึกษา-ภาคกลาง 3. http://www.ivec3.ac.th/.
อพัชชา ช้างขวัญยืน และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2562). การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานรายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน สำหรับนิสิตปริญญาตรี. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 14: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. มหาวิทยาลัยนเรศวร. หน้า 1144-1153.
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2564). ระเบียบวิธีวิจัย: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครังที 11). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2560). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 135-143.
สุพัตรา เกษมเรืองกิจ. (2551). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง นพบุรีศรีนครพิงค์. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Kemp , Jerrold E. & Dayton, Deane K. (1982). Planing and Producing Instructional Media. New York :Macmillan.