บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยของครู ในวิทยาลัยเทคนิคนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทและแนวทางการแก้ปัญหาของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคนครนายกในการส่งเสริมการทำวิจัยของครูในวิทยาลัยเทคนิคนครนายก และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการปฏิบัติของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยของครูในวิทยาลัยเทคนิคนครนายก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูวิทยาลัยเทคนิคนครนายก ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับลำดับปัญหาของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดทำวิจัยของครูวิทยาลัยเทคนิคนครนายก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของการทำวิจัย อยู่ในระดับมาก 2) ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัย อยู่ในระดับมาก 3) ด้านการให้ความสำคัญกับการทำวิจัย อยู่ในระดับมาก 4) ด้านการให้ความยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัย อยู่ในระดับมาก 5) ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในตำแหน่งงานของครูผู้ทำวิจัย อยู่ในระดับปานกลาง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติผลการศึกษาที่ได้ คือ 1) ควรมีการกำหนดนโยบายในการส่งเสริมการทำวิจัย ที่ชัดเจน 2) มีจัดสรรงบประมาณในการประชุม อบรม สัมมนาเรื่อง การทำวิจัย 3) มีการประชุมชี้แจงเพื่อให้ครูทราบ นโยบายวัตถุประสงค์และความสำคัญของการทำวิจัย และจัดหา เอกสาร ตำรา อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการทำวิจัย 4) ควรมีการส่งเสริมให้มีการอบรม สัมมนา ประชุมปฏิบัติการอยู่เสมอ 5) มีการนิเทศติดตามและร่วมแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในการทำวิจัย และ 6) มีการเผยแพร่ผลงาน ของครูในโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม มีการกำหนดนโยบายพิจารณาให้ความดีความชอบ มีการเชิญวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำวิจัย และมีการคัดเลือกครูผู้มีผลงานดีเด่น เป็นผู้นำทางด้านวิชาการ และ ยกย่อง เช่น ให้เกียรติบัตร หรือประกาศเกียรติคุณ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579.
โรงพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3. (2562). การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน). (2556). ผลประเมินสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา รอบสี่ (พ.ศ.2559-2564) . (เอกสารสำเนา).
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W (1970). Determination sample size for research activities.
Education and Psychology Measurement,30(3), pp. 607-610
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). วิชาการวิจักษณ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. (2544). การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา กรมศาสนา
พิษณุ คนซื่อ. (2550). บทบาทการส่งเสริมการทำวิจัยของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดแสงสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. ภาคนิพนธ์สาขาการ บริหารการศึกษาครุศาสตร
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พัชวิชญ์ โฮงยากุล. (2556). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 1.ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สุธาภรณ์ วรกาญจนกุล. (2556).กระบวนการส่งเสริมส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา
อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัตนาภรณ์ วรรณ์คำ. (2549). สภาพการวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์ประถมศึกษาใน อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิชัย แก้วสุวรรณ. (2548). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาการ บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.