ตรีกายตามคติความเชื่อในพระพุทธศาสนามหายาน

ผู้แต่ง

  • พระศุภวัฒน์ สุขวฑฺฒโน (เกตุกระทึก)

คำสำคัญ:

คติความเชื่อ; ตรีกาย; พระพุทธศาสนามหายาน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์เรื่องตรีกายตามคติความเชื่อในพระพุทธศาสนามหายาน โดยถ่ายทอดมุมมองในเชิงพรรณนาเอกสาร จากการศึกษาพบว่า  ตรีกาย เป็นการตีความจากเหล่าคณาจารย์ของมหายานที่พยายามให้พระพุทธเจ้ามีตัวตนดำรงชีพอยู่ทั้งนี้ ตรีกาย หมายถึง พระกายทั้งสามของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย ธรรมกาย คือ กายแท้จริงที่เป็นหลักธรรมอันแท้จริงไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดนิรมาณกาย คือ กายเนื้อมีการเกิด แก่ เจ็บและตาย จนสามารถพัฒนาศักยภาพกลายเป็นพุทธะได้ และสัมโภคกาย คือ กายที่เป็นทิพย์ภาวะยังคงดำรงอยู่เพื่อโปรดช่วยเหลือแก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่มีคติความเชื่อและสามารถเป็นกุสโลบายในการเผยแผ่พุทธศาสนาแก่คนทั่วโลกได้ ในทางตรงกันข้ามพระพุทธเจ้าถูกมองว่าเป็นเหมือนเทพเจ้าที่สามารถสวดมนต์ร้องขอได้เพราะเชื่อว่าพระพุทธองค์ประทับที่ดินแดนพุทธเกษตรหรือโลกธาตุที่ใดที่หนึ่ง และยังคงสดับเสียงสวดมนต์ของเหล่าพุทธศาสนิกชนอยู่ ดังนั้นผู้จะเข้าถึงต้องตั้งมั่นโพธิจิตตามหลักโพธิสัตวจริยา หากยกระดับจิตมีบารมีเต็มเปี่ยมแล้วสามารถเข้าถึงดินแดนพุทธเกษตรได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้นับถือมากแถบในประเทศจีน เกาหลี ธิเบต  ภูฐาน เป็นต้น

References

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. (2554). พระพุทธศาสนาแบบธิเบต. กรุงเทพมหานคร : ส่องศยาม.
เดอ แบรี และวิลเลียม ธีโอเดอร์. (2512). บ่อเกิดลัทธิประเพณีนิยม. แปลโดย จำนงค์ ทองประเสริฐ.กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.
ประยงค์ แสนบุราณ. (2548). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ทองใบ หงส์เวียงจันทร์. (2532). พุทธธรรมมหายานแบบญี่ปุ่น. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมมิก.
ราชบัณฑิตยราชสถาน. (2530). พจนากรมศัพท์ปรัชญาอังกฤ-ไทย. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุพ.
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2558). พระพุทธศาสนามหายาน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. (2550). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพมหานคร : เม็ดทรายพริ้นติ้ง
พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก. (2551). มหาสุขาวตียูวหสูตร. กรุงเทพมหานคร : ส่องศยาม.
เสถียร โพธินันทะ. (2522). ปรัชญามหายาน. กรุงเทพมหานคร : บรรณาคาร.
อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์. (2539). พระพุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554). ตรีกาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 จาก https://dictionary.orst.go.th.
Nalinaksha Dutt. (1976). Mahayana Buddhism. Calcutta : Firma Klm Private Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2021