พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง
พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง
Keywords:
ตำนานพระเจ้าเลียบโลกAbstract
หนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก หนึ่งในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีความนิยมในสังคมชาวพุทธล้านนาอดีต ถูกสันนิษฐานประพันธ์ในช่วง พ.ศ. 2066 ขึ้นโดยพระธรรมรส เสมือนเป็นคู่มือการจาริกแสวงบุญไหว้พระของชาวพุทธในอดีต โดยภาพรวมกล่าวถึงการจาริกของพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดไวไนยสัตว์ ในแถบอาณาจักรล้านนา สิบสองพันนาและพื้นที่ใกล้เคียง พระองค์ทรงจาริกพร้อมพุทธสาวก เทศนา สั่งสอนพหุชนกลุ่มต่างๆ รวมทั้งอมนุษย์และสัตว์ เช่น ไท ลัวะ ทมิฬ ข่า ว้า ยักข์ พญานาค สิงห์ เป็นต้น ทรงประทานพระเกศาธาตุ การประทับรอยพระบาท พระองค์ทรงทำนายที่ตั้งพระสารีริกธาตุหลังจากนิพพานและทรงบวชพระภิกษุเป็นศาสนทายาท การทำนายและตั้งชื่อบ้านนามเมือง แม่น้ำ และกล่าวถึงเหตุการณ์ความรุ่งเรืองและความเสื่อมหรือกลียุค ในช่วงอายุพระพุทธศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าในรอบ 5000 ปี ทั้งนี้พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก เป็นวรรณกรรมที่มีการคัดลอกซ้ำลงใบลานสืบต่อมาหลายยุคสมัย และถูกปริวรรตเรียบเรียงขึ้นมาหลายครั้ง ในพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับนี้ ได้นำสำนวนการปริวรรตของนายสิงฆะ วรรณสัย มาเป็นเนื้อหาโครงหลัก โดยมีการปรับภาษา เพิ่มเติมข้อความที่ขาดหาย เทียบเคียงกับฉบับอื่น และเพิ่มเติมประวัติ ภาพศาสนสถานที่ปรากฏในพระเจ้าเลียบโลก เพื่อให้เห็นภาพพุทธสถานที่ชัดเจนมากขึ้น และตั้งชื่อว่า ฉบับชำระสะสาง ซึ่งเป็นฉบับที่น่าสนใจ ชวนอ่าน วิเคราะห์ ติดตามอย่างยิ่ง
References
ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์. อิทธิพลของวรรณคดีพุทธศาสนาอินเดีย-ลังกาและวรรณคดีพุทธศาสนาล้านนาที่มีต่อการประพันธ์พระเจ้าเลียบโลก. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560): 35-63.
นาคฤทธิ์. พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับสะสาง. เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, 2545.
สิงฆะ วรรณสัย. พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก. พิมพ์ครั้งที่ 4. ในงานพระราชทานเพลิงศพพระเทพมหาเจติยาจารย์. ลำพูน: ณัฐพลการมพิมพ์, 2557.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. รูปแบบทางพื้นที่ของตำนานพระเจ้าเลียบโลก: บทวิเคราะห์ตำนานด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559) : 21-45.