Work performance Work performance in accordance with the principles of good governance of personnel General Education Teaching Institute Khon Kaen University
Keywords:
Good governance; Guidelines; General Education Teaching Institute, Khon Kaen UniversityAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรและแนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการปฏิบัติงานที่ดีและเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร สถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
- การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร พบว่า หลักนิติธรรม มีการปฏิบัติงานตามหลัก TOR (Terms of Reference : TOR) โดยมีการกำหนด ขอบเขต อำนาจหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนเองอย่างชัดเจน หลักคุณธรรม ในการปฏิบัติงานควรมีความซื่อสัตย์ต่องานที่ทำอยู่ ไม่ทุจริตต่อผลงานตนเอง หลักความโปร่งใส เน้นการเปิดเผยตามขั้นตอนเพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ หลักความมีส่วนร่วม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมคิด ร่วมกันวางแผนงาน หลักความรับผิดชอบ รับผิดชอบต่อหน้าที่ และยอมรับผลการดำเนินงาน และหลักความคุ้มค่า มีผลงานที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับเวลา มีการวางแผนใช้งบประมาณให้เหมาะสมกับงานที่ทำตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
- แนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการปฏิบัติงานที่ดีและเหมาะสมตามหลัก ธรรมาภิบาลของบุคลากร พบว่า 1) ควรมีการจัดกิจกรรม อบรม สัมมนา พัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถ กำหนดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนไว้ตรงตามเป้าหมายขององค์กรที่วางไว้ เน้นหลักการมีส่วนร่วมโดยให้อิสระแก่บุคลากรทุกคน มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและส่งเสริมให้ความรู้ให้กับบุคลากรมีการติดตามผล ประเมินผล การปฏิบัติงานของบุคลากรอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการบริหารจัดการที่ได้ผลงานที่มีคุณภาพ
References
ดุจดาว จิตใส. (2554). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฐาปนา กัลปพฤกษ์. (2554). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานการวิจัยสหกิจศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนเก่น.
วิชิต บุญสนอง. (2554). แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี.วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป. (2558). รายงานประจำปี 2558 สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). คู่มือนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2563. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาระบบบริหาร.
Herzberg, F., Bernard, M. & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Willey & Sons.
Teck Hong, T & Amna, W. (2011). Herzberg’s motivation-hygiene theory and job satisfaction in the Malaysian retail sector: the mediating effect of love of money. Asian Academy of Management Journal. 16(1), 73-94.