Sanskrit and Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Main Article Content

จำลอง สารพัดนึก

Abstract

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาตระกูลอินเดีย – ยุโรป (Indo-European) เป็นภาษาที่มีบทบาทสาคัญในชีวิตความเป็นอยู่ ความคิดและวัฒนธรรมของอินเดียและของชาติที่รับวัฒนธรรมจากอินเดีย ด้วยว่าภาษานี้ถูกใช้เขียนบอกเรื่องราวต่าง ๆ อันนาไปปรับใช้กับชีวิตและความคิดได้เป็นอย่างดี เป็นภาษาที่ใช้พูดสนทนากันในกลุ่มชนผู้รู้ผู้คงแก่เรียน ทั้งยังเป็นสื่อกลางของการแต่งวรรณกรรมดั้งเดิมและเป็นหนึ่งในสิบสี่ภาษาสาคัญที่ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญอินเดีย ภาษาสันสกฤตไม่มีอักษรอันเป็นของตนเองหากแต่ใช้อักษรของทุกชาติที่ใช้กับเสียงของภาษานี้ได้ ในอดีตอันยาวนานอักษรที่ใช้กับภาษาสันสกฤตนั้นคืออักษรพรหมมี (Brahmi) ในปัจจุบัน ใช้อักษรเทวนาครีอักษรโรมัน และอักษรของชาติที่ศึกษาภาษาสันสกฤตก็มี อย่างเช่นประเทศไทยใช้อักษรไทย เป็นต้น ตามหลักสูตรใหม่ของคณะพุทธศาสตร์ สันสกฤตเป็นวิชาเอก อันมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จนถึงบัดนี้ ทาง มจร. ยังไม่ได้เปิดให้นิสิตศึกษาวิชาเอกสาขาสันสกฤตเลย ไม่ทราบว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคอันใดอันทาให้เปิดวิชานี้ไม่ได้ ดังนั้น นิสิตที่ศึกษาตามหลักสูตรใหม่นี้ จึงได้ศึกษาวิชาสันสกฤตในชั้นอุดมศึกษาเพียง ๓ หน่วยกิตเท่านั้น ซึ่งเป็นสันสกฤตในกลุ่มวิชาพื้นฐาน เมื่อเทียบกับการศึกษาในอดีตแล้ว การศึกษาสันสกฤตในปัจจุบันนี้นับว่าศึกษาน้อยกว่าในอดีตมากนัก ดังนั้น ความหวังที่จะได้ผู้รู้ผู้สามารถในภาษาสันสกฤตในปัจจุบันที่คาดว่าจะได้รับผลที่เลิศกว่ากว่าผลที่เกิดจากการศึกษาในอดีต อาจเป็นหมัน และผิดคาดเสีย

Article Details

Section
บทความวิชาการ

References

จำลอง สารพัดนึก, รศ.ดร. ประวัติวรรณคดีสันสกฤต, ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๓๐.

หลักสูตรมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หนังสือ : ปกขาว. ๒๔๙๐. หลักสูตรและระเบียบปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต, ๒๕๒๖.

Garg Ganga Ram An Encyclopedia of India literature. Delhi : Mohan Printing Corporation, 1972.

MahaChulalongkorn Rajavidyalaya : Catalogue, 1957-58.

MahaChulalongkorn Rajavidyalaya : Catalogue, 1957-68.

Ramachandra Iyer, T.K. A Short History of Sanskrit Literature, Madras: Bharathi Vijayam Press, 1977.

Winternitz, M.A. History Indian literature 2 Vols. Calcutta:Loyal Art Press, 1962.