Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์ใด มีความน่าสนใจและมีความทันสมัย
  • บทความมีองค์ประกอบ ดังนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งทุกคน บทคัดย่อ คำสำคัญ (keywords) ความยาวประมาณไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ A4 ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ พร้อมระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) คุณวุฒิสูงสุด และสถานที่ทำงานของผู้แต่งทุกคน
  • บทความใช้ขนาดกระดาษ A4 แบบหน้าเดียว ความยาวไม่เกิน 15 หน้า ใช้อักษร TH SarabunPSK ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความเรียบร้อยแล้ว

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

  1. นโยบายการตีพิมพ์ในวารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์

วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์ เป็นวารสารวิชาการมีวัตถุประสงค์ 

  • เพื่อเผยแพร่ผลงานบทความวิชาการและบทความวิจัย บทความทั่วไป และวิจารณ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา บาลีสันสกฤต ศาสนาและปรัชญา
  • เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการวิจัยและวิชาการสาขาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา บาลีสันสกฤต ศาสนาและปรัชญา
  • เพื่อส่งเสริมพัฒนาผลงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนา บาลีสันสกฤต ศาสนาและปรัชญาทั้งในและต่างประเทศ

การพิจารณาคุณภาพ บทความที่ตีพิมพ์ลงวารสารได้ผ่านการพิจารณาและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย มีกำหนดการเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน) ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยเสนอหรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน

  1. ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์

          1) บทความพิเศษ (Special Articles) บทความพิเศษทางวิชาการที่นำเสนอองค์ความรู้ทางวิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีกลุ่มเป้าหมายของนักวิชาการใน วงการวิชาการ หรือวิชาชีพ

          2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวความคิดใหม่ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แก่คนทั่วไป

        3) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบและมีความมุ่งหมายชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความวิจัยมีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น มีการตั้งสมมติฐานหรือมีการกำหนด ปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดแน่นอน มีการรวบรวมข้อมูล พิจารณาวิเคราะห์ ตีความและสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบหรือบรรลุวัตถุประสงค์

       4) บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และ วารสารใหม่ หรือจากประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น

       5) ปกิณกะ (Miscellany) ได้แก่ บทความทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสารต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ แนะนำเครื่องมือใหม่ ตำราหรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ หรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติและนานาชาติ

  1. รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ

       1) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 12-15 หน้ากระดาษ A 4 (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว เอกสารภาษาไทยใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarapun New ขนาดตัวอักษร 16 point ส่วนเอกสารภาษาอังกฤษใช้แบบอักษร Time New Roman ขนาด 12 point ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบข้างบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

      2) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง ภาษาไทยใช้ขนาดอักษร 20 point ภาษาอังกฤษใช้ขนาด 14 point

      3) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุวุฒิการศึกษาสูงสุด พร้อมระบุตำแหน่งทางวิชาการ และอีเมล์ติดต่อ ด้วยอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยเยื้องมาทางด้านขวา ใช้ภาษาไทยใช้ขนาดอักษร 16 point 

      4) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำต่อบทคัดย่อ

      5) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

      6) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจากหัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 6 และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ควรเว้นระยะพิมพ์ เพิ่มอีก 0.5 ช่วงบรรทัด

      7) การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centred learning)

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

                    1) บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยและผลการวิจัยโดยสรุปมีความกะทัดรัด และสั้น

                   2) บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัยกรอบแนวคิดและระบุวัตถุประสงค์การวิจัย

                   3) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ระบุแบบแผนการวิจัยการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

                    4) ผลการวิจัย/ผลการทดลอง (Result) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

                   5) อภิปรายผล/วิจารณ์ (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

                   6) สรุป (Conclusion) ระบุข้อสรุปที่สำคัญและข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และประเด็นสำหรับการวิจัยต่อไป

                   7) เอกสารอ้างอิง (Reference) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงไว้ในเชิงอรรถเท่านั้น

          บทความพิเศษ บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ ปกิณณกะ บทความวิจารณ์ หนังสือ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

          1) บทคัดย่อ (Abstract)           

          2) บทนำ (Introduction)

          3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ

          4) สรุป (Conclusion)             

          5) เอกสารอ้างอิง (Reference) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA 

  1. ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ

          เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทั้งนี้ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดก่อนส่งต้นฉบับผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้องของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทคาม เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

  1. การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม-ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็ก เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ใต้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฎในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้

1) พระไตรปิฎกและอรรถกถาให้อ้างชื่อคัมภีร์เล่มที่ ข้อ หน้า และเครื่องหมายจุลภาคตามด้วยนามเจ้าของและปีพ.ศ.ที่ตีพิมพ์ เช่น (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 15 ข้อ55 หน้า 435-444, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539)

2) ผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (สมภาร พรมทา,2550)

3) ผู้แต่งสองรายให้อ้างชื่อของผู้แต่งสองรายเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์เช่น (กรุณา กุศลาสัยและเรืองอุไร กุศลาสัย, 2560) หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค  (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิง เช่น (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2555; ศุภชัย ศุภผล,2558)

4) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างชื่อของผู้แต่งรายแรกเว้นวรรคหนึ่งครั้งเพิ่มคำว่าและคณะเครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระพรหมบัณฑิตและคณะ, 2561)

5) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งเช่นเดียวกับลำดับการอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง

6) การอ้างอิงเว็บไซต์ ให้ใส่ชื่อและนามสกุล และปีพ.ศ.

อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ

1) ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์  เช่น (Machiavelli, 1991)

2) ถ้ามีผู้แต่งสองรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Jovinelly & Netelkos,2007) และให้ใช้เครื่องหมาย อัฒภาค (;)  คั่นกลางระหว่างเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 เอกสาร เช่น (Machiavelli, 1991 ; Jovinelly & Netelkos,2007)

3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรกตามด้วย et al, ปีที่พิมพ์  (Keown et al., 2004)

4) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงชื่อผู้แต่ง

 

          หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิมพ์รายการสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์

          กรณีเป็นสำนักพิมพ์หรือบริษัทให้คงไว้เฉพาะชื่อ ดังตัวอย่าง

          1) บริษัท สหธรรมิก ใช้ สหธรรมิก

          2) สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          3) กรณีที่เป็นโรงพิมพ์ให้ใช้รูปแบบเต็ม เช่น โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

  1. เอกสารอ้างอิง

(1) พระไตรปิฎก อรรถกถา

รูปแบบ :

ผู้แต่ง. // (ปีที่พิมพ์).//ชื่อพระไตรปิฎกอรรถกถา. สถานที่พิมพ์//:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

          (2) หนังสือ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง. (//ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//(ครั้งที่พิมพ์).//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์. (.//การวรรค 2 ครั้ง)

ตัวอย่าง :

เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2529). จริยศาสตร์กับปัญหาปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

          (3) บทความในหนังสือ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ).//ชื่อเรื่อง/(เลขหน้าที่อ้าง).//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

พระสุกิจจ์ สุจิณฺโณ. (2555). การสร้างความคิดนามธรรมในวัฒนธรรมไทย ใน ปวิตร ว่องวีระ. ทฤษฎี และวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม. (หน้า ). กรุงเทพมหานคร อัมรินทร์

 

         

 

(4) บทความจากวารสาร

รูปแบบ :

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร.//ปีที่ (ฉบับที่),/เลขหน้าแรก ที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.

ตัวอย่าง :

ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2557). การวางแผนและการติดต่อประสานงานเชิงพุทธ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1), 25-31.

 

          (5) บทความในสารานุกรม

รูปแบบ : ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน ชื่อสารานุกรม,/(เล่มที่อ้าง, หน้า เลขหน้าที่อ้าง). สถานที่พิมพ์: /สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

สนิท อาจพันธ์. (2537). หม้อคอควาย. ใน สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขต หัวเมือง

ฝ่ายเหนือ, (หน้า 274-275). กรุงเทพมหานคร อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.

Sturgeon, T.(1995). Sciecefiction. In The encyclopaedia America, (). Danbury, CT: Grolier Press.

 

          (6) หนังสือพิมพ์

รูปแบบ :

ผู้แต่ง.//(วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.

ตัวอย่าง :

สุชาติ เผือกสกนธ์. (9 มิถุนายน 2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ผู้จัดการรายวัน, น.13.

 

          (7) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รายรายการวิจัย

รูปแบบ :

ชื่อผู้เขียน.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/หรือการค้นคว้าแบบ

อิสระ/ชื่อมหาวิทยาลัย

ตัวอย่าง :

สัมฤทธิ์ ต่อสติ. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของสถานบริการ

สาธารณสุขเขตเมือง กรณีศึกษาศูนย์ แพทย์ชุมชนเมือง พระนครศรีอยุธยา.

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

 

(8) สัมภาษณ์

รูปแบบ :

-ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์.//(ปี).//ตำแหน่ง./สัมภาษณ์. วัน เดือน.

ตัวอย่าง :

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ศ.ดร.. (2542). อธิการบดี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สัมภาษณ์. 18 เมษายน.

 -การสัมภาษณ์สามารถอ้างอิงในเนื้อหา แต่ไม่ต้องเขียนรายการเอกสารอ้างอิงตอนท้าย

          (9) อินเทอร์เน็ต

รูปแบบ :

ผู้แต่ง. //(วันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อบทความ.//สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี./จาก แหล่งที่อยู่ ไฟล์ (URL)

ตัวอย่าง :

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (4 มิถุนายน 2555). การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในองค์กร. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2557, จาก www.mcu.ac.th/article/index.html

    

            ตัวอย่างเอกสารอ้างอิง

              เอกสารอ้างอิง

เพลโต.(2523). The Republic (อุตมรัฐ). แปลโดย ปรีชา ช้างขวัญยืน. กรุงเทพมหานคร: 

     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมน  อมรวิวัฒน์. (2529). การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

              ประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

 

  1. หลักเกณฑ์การส่งต้นฉบับบทความเพื่อได้รับการตีพิมพ์

          ส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้ที่เว็ปไซต์ ของวารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์ได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmb ทางบรรณาธิการจะพิจารณาเพื่อแก้ไขในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เขียนแก้ไข แล้วส่งกลับเข้ามาที่ Email:  [email protected] หลังจากการแก้ไขในเบื้องต้น จะส่งเพื่อ peer reviews เพื่อประเมินและส่งให้แก้ไข เมื่อประเมินผ่านและมีการแก้ไขจะต้องส่งเข้าระบบเพื่อตีพิมพ์ต่อไป

 

  1. ขั้นตอนการนำบทความลงตีพิมพ์ลงในวารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์

          ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปไฟล์เอกสาร Doc ของ  Microsoft Word Version 2010 หรือมากกว่า ใช้ฟอนท์ TH Sarapun New ขนาดตัวอักษร 16 point ส่วนเอกสารภาษาอังกฤษใช้แบบอักษร Time New Roman ขนาด 12 point หากต้นฉบับประกอบด้วยภาพ ตาราง หรือสมการ ให้แยกจากไฟล์ เอกสารในรูปแบบไฟล์ภาพ สกุล JPG ความยาวของต้นฉบับไม่เกิน 15 หน้า

 

  1. สิทธิของบรรณาธิการ

          ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นหลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาตีพิมพ์ในกรณีที่บทความไม่ตรงกับแนวทางของวารสาร

ถ้ามีภาพประกอบหรือตารางในบทความ ให้พิมพ์หน้าละ ๑ ภาพ หรือ ๑ ตาราง โดยให้มีคำอธิบายประกอบของภาพหรือตารางนั้น อยู่ด้านล่าง และระบุแหล่งที่มาด้วย

ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์

-ค่าตีพิมพ์บทความ 3,500 บาท โอนมาได้ที่ บัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์ เลขบัญชี 660-9-65053-5

***ส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่  [email protected]***

***สถานที่ติดต่อ ***

คณะกรรมการฝ่ายบรรณาธิการ วารสาร มจร. พุทธศาสตร์ปริทรรศน์

คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เลขที่ ๗๙ หมู่ ๑ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐

โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๘-๐๙๖ ภายใน ๑๑๐๓

E-mail. : [email protected]

ติดต่อ พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ โทร 0925564635