พระพุทธรูป : การตีความเชิงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

สิรีรัศมิ์ สิงห์สนธิ
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป  ๒) เพื่อศึกษาสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา และ๓) เพื่อวิเคราะห์ ตีความเชิงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในพระพุทธรูป บทความนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร


ผลการศึกษา พบว่า พระพุทธรูปเป็นประติมากรรมที่ได้รับอิทธิพลการสร้างมาตั้งแต่ครั้งอินเดียโบราณ ซึ่งคติห้ามสร้างพระพุทธรูปเป็นรูปเคารพ จึงคิดหาทางสร้างรูปเคารพเป็นสัญลักษณ์แสดงเรื่องราวของพระพุทธองค์ขึ้น ซึ่งรูปสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อสะท้อนเรื่องราวของพุทธประวัติ อันสืบเนื่องมาจากพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะลัทธิเถรวาทเป็นที่ยอมรับนับถือต่อเนื่องกันมานานจากอดีตมาจนปัจจุบัน       องค์พระพุทธรูปเปรียบเสมือนหัวใจของศิลปวัตถุทางศาสนา การวิเคราะห์สัญลักษณ์ที่ปรากฎบนพระพุทธรูปเปรียบเสมือนการอธิบายหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า        ในฐานะเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวพุทธ สร้างขวัญกำลังให้แก่ผู้ต้องการกำลังใจและในฐานะสิ่งอนุสรณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเป็นเครื่องหมายของพุทธศาสนา รวมถึงสัญลักษณ์ของความดีงาม และเป็นทางแห่งการทำบุญกุศลของชาวพุทธชาวพุทธจะอาศัยพุทธศิลป์   เป็นการกราบไหว้บูชา เพื่อน้อมนำไปสู่การศึกษาและปฏิบัติธรรมการสร้างพระ การสร้างสถูปเจดีย์ การบูรณะซ่อมแซม ซึ่งถือเป็นกุศลหลักทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี สถาปัตยกรรม โบราณคดี ประวัติศาสตร์เชื้อชาติ ศึกษาเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ทัศนคติค่านิยม และศีลธรรมจรรยาความงดงาม ความสุนทรียะของพระพุทธรูป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จารุวรรณ พึ่งเทียร. (2553). พุทธศิลป์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมบูรณ์ ดำดี. (2549). การศึกษาปรัชญาในงานพุทธศิลป์เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์พุทธศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะมหาบัณฑิต ภาควิชาออกแบบตกแต่ง สาขาวิชาออกแบบภายใน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาศิลปากร.