การจัดการเรียนรู้ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระมหาสุวัฒน์ กิตฺติเมธี (คงยืน)
อุทัย วรเมธีศรีสกุล
ประยูร แสงใส

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ เพื่อเปรียบเทียบ และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา  จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed  Methodology Research) ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ  ประชากรได้แก่ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานีมี จำนวน  85 รูป/คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน  70 รูป/คน  ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan โดยการสุ่มแบบง่าย กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่ครู  จำนวน  15 รูป/คน  ได้โดยการสุ่ม แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) และหาค่าร้อยละ (%) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.) ทดสอบด้วยค่าที (t-test independent) การทดสอบเอฟ (F-test)  สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  (One- way  Analysis  of  variance : f- Test)  และทดสอบความแตกต่างรายคู่ใช้การทดสอบโดยใช้วิธีเชฟเฟ่ (Scheff’s Post hoc  Comparison)
        ผลการวิจัยพบว่า
        1.สภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานีนั้น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้  1) ด้านอุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง  2) ด้านมุทิตา ความยินดี  3) ด้านกรุณา ความสงสาร  4) ด้านเมตตา (ความรักใคร่) ตามลำดับ
        2.ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามสถานภาพ โดยภาพรวมและรายด้านมีระดับการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน  จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีระดับการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน  และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน และเมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมุทิตา(ความยินดี)  มีระดับการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
        3.แนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี  ได้แนวทางและข้อเสนอแนะในแต่ละข้อดังนี้  3.1)  เมตตา  ความรักใคร่  ครูมีความปราถนาดีต่อนักเรียนโดยจัดบรรยากาศการเรียนการสอนภายในห้องเรียนให้นักเรียนและครูมีความสนิทสนม  เป็นกันเอง  จัดการสอนในแต่ละรายวิชาให้เป็นไปด้วยความเมตตา  3.2)  ด้านกรุณา ความสงสาร  ครูปรารถนาให้นักเรียนพ้นจากความไม่รู้  กล่าวคือการถ่ายทอดองค์ความรู้จากครูไปยังนักเรียน  ด้วยความปรารถนาให้นักเรียนได้รับความรู้ที่ชัดเจนแท้จริง  โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน  3.3)  ด้านมุทิตา (ความยินดี)  ครูยกย่อง  เชิดชูเกียรติคุณของนักเรียนที่ประสบความสำเร็จในโอกาสต่างๆ  ครูส่งเสริมให้นักเรียนเข้ารับการอบรมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้พัฒนาสูงขึ้นไป  โดยที่ครูคอยเป็นผู้ชี้แนะ  คอยให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา  3.4)  ด้านอุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความเป็นกลาง  ไม่ถืออคติในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  แต่ถือความถูกต้องเป็นเกณฑ์

Article Details

How to Cite
กิตฺติเมธี (คงยืน) พ. . ., วรเมธีศรีสกุล อ. . ., & แสงใส ป. . . (2020). การจัดการเรียนรู้ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Modern Learning Development, 5(1), 47–61. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/240401
บท
บทความวิจัย

References

พระสมุห์สมนึก สมณธมฺโม (อุทัยแสงไพศาล). (2562). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูตามหลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิกจํากัด.

พระปฐม ปญญาทีโป (เนียมศรี). (2560). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต พระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2550). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3.) กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.