ความมั่นคงทางการเงินของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อริสรา ชูมี
ภวิษณ์ณัฏฐ์ เวชวิฐาน
สมพงษ์ ยิ่งเมือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อศึกษาความมั่นคงทางการเงินของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 4) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามลักษณะทั่วไปของวิสาหกิจชุมชนสุมนไพร และ 5) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางการเงินของของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากจำนวนประชากรทั้งหมดเต็มจำนวนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร
จังหวัดสุราษฎร์ธานี กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 แห่ง ด้วยตารางของเครจซี่ และมอร์แกน จากจำนวนประชากรที่เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งหมด 43 แห่ง สถิติที่ใช้โดยการหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้เพื่อการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ t-test และค่า F-test (One way ANOVA) ชนิดทางเดียว และ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
          ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุระหว่าง 41 – 60 ปี ศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีอาชีพเป็นเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท และมีจำนวนสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจ 15 – 25 คน ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเงินของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามลักษณะทั่วไป โดยรวมและรายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่แตกต่างกัน และความเหมาะสมของสมการถดถอยเชิงพหุคูณของตัวแปรโดยรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางการเงินของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความสัมพันธ์ในระดับสูง คือ .563 ตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัว ที่เข้าไปในรูปแบบสมการถดถอยพหุคูณ ได้แก่ ปัจจัยการผลิต ปัจจัยการตลาด ปัจจัยการจัดการ ปัจจัยด้านการเงิน และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนวิสาหกิจ ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรอิสระได้ 56.30% ด้วยความคลาดเคลื่อนของมาตรฐานการพยากรณ์เท่ากับ .437

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นงลักษณ์ ทองศรี. (2560). รูปแบบการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

สัญญา เคณาภูม. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธ์. 2 (3), 68-85

Surat Thani Provincial Agriculture Office. (2017).Surat Thani Provincial Community

Enterprise Information Report. Farmer Promotion and Development Group,

Surat Thani Province.