การประเมินสมรรถนะของครูโรงเรียนสายสามัญในสังกัด มูลนิธิคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ ชัยพรแก้ว
ระวีวรรณ กลิ่นหอม
ธัญธรณ์ อมรกิจภิญโญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเปรียบเทียบสมรรถนะของครูโรงเรียนสายสามัญสังกัดมูลนิธิคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทยจำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์สอน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือครูโรงเรียนสายสามัญสังกัดมูลนิธิคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทยจำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ One Way ANOVA
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สมรรถนะหลักของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะย่อยพบว่าสมรรถนะย่อยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือสมรรถนะจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู และสมรรถนะย่อยมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือสมรรถนะการพัฒนาตนเอง 3) สมรรถนะประจำสายงานของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะย่อยพบว่าสมรรถนะย่อยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือสมรรถนะการพัฒนาผู้เรียน  และสมรรถนะย่อยมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือสมรรถนะการวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน  4) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีสมรรถนะรวมสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 5) ครูที่มีประสบการณ์สอนแตกต่างกันมีสมรรถนะรวมและสมรรถนะประจำสายงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นสมรรถนะหลักพบว่าครูที่มีประสบการณ์สอนมากกว่า 20 ปีมีสมรรถนะหลักมากกว่าครูที่มีประสบการณ์สอนน้อยกว่า 10 ปี = .01 คะแนน

Article Details

How to Cite
ชัยพรแก้ว เ. . ., กลิ่นหอม ร. ., & อมรกิจภิญโญ ธ. . (2023). การประเมินสมรรถนะของครูโรงเรียนสายสามัญในสังกัด มูลนิธิคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development, 8(8), 143–160. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/261685
บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์วรา ผลเจริญ. (2559). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยสังกัดสำนักงานเขตเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.bic.moe.go.th/ images/stories/edu4-2562.PDF

คณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย. (2557). ระเบียบคณะซาเลเซียนว่าด้วยการบริหารโรงเรียนซาเลเซียนในประเทศไทย พ.ศ.2557.กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก

จิติมา วรรณศรี. (2552). คุณภาพการศึกษากับสมรรถนะของครูที่พึงประสงค์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 32 (1), 1-5.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.tw-tutor.com/downloads/ competency.pdf

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2552). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี

สมิต แดงอำพันธ์. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกในสังกัดเครือซาเลเซียน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม : ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ฝ่ายการศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (2565). ระเบียบฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯว่าด้วยการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: อัสสัมชัญ

พงษ์ศักดิ์ ด้วงทา. (2558). สมรรถนะวิชาชีพครูโรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 1. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8 (3), 905-918.

พิชญาภัค ประเสริฐ. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะครูในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อนุชา ไชยเดช. (2558). ตลอดกาลนิรันดร์ 350 ปีการศึกษาคาทอลิกไทย. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5^th ed.). New York: Harper Collins.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 39, 175-191.

Lei H, Cui Y and Chiu MM (2018), The Relationship between Teacher Support and Students’ Academic Emotions: A Meta-Analysis, online. Retrieved September 10, 2020, From https://doi.org/10.3389/fpsyg.2017.02288

Rovinelli, R.J. & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. TijdschriftvoorOnderwijsresearch. 2 (2), 49–60.