ผลการใช้รูปแบบการสืบสอบ Stripling ที่มีต่อการให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสืบสอบ Stripling ที่มีต่อพัฒนาการของการให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน ฤทธิยะวรรณาลัย ๒ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวนนักเรียน 34 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนหน่วยการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประเด็นสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย และแบบประเมินการให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินการให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์จากผลงานของนักเรียนทั้ง 3 ระยะ และวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่าการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสืบสอบ Stripling ส่งผลให้พัฒนาการของการให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีพัฒนาการจากระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 สูงขึ้นในทุกระยะ
Article Details
References
เฉลิม มลิลา นิติเขตต์ปรีชา. (2559). เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชัยรัตน์ โตศิลา. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนีกร หงส์พนัส. (2564). การพัฒนาครูสังคมศึกษาในฐานะนวัตกรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: พรรณีพริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2555). ครูสังคมศึกษากับการพัฒนาทักษะแก่นักเรียน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิพัชร จำปา. (2562). กระบวนการสืบสวนและการตีความทางประวัติศาสตร์: การเรียนรู้ด้วยวิธีปฏิบัติการประวัติศาสตร์. Veridian E-Journal. 12 (5), 974-988.
ศจีมาจ ณ วิเชียร. (2555). การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: http://rlc.nrct.go.th/ewtadmin/ewt/nrct_museum/ewt_dl.php?nid=911
ศุภณัฐ พานา. (2563). แนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 23 (2), 390-399.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2553). การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). การสอนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย หลายหลายวิธีเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการมีส่วนร่วมและสมัชชาการศึกษา และกลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
Barton, Keith C. and Levstik, Linda S. (2004). Teaching History for the Common Good. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Dillenburg, M. (2017). Understanding historical empathy in the classroom. Dissertation Ed.D. School of Education : Boston University.
Kalmon, Stevan; et al. (2012). From Corn Chips to Garbology: The Dynamics of Historical Inquiry. OAH Magazine of History. 26 (3), 13-18.
Luís, Rita and Rapanta, Chrysi. (2020). Towards (Re-)Defining historical reasoning competence: A review of theoretical and empirical research. Educational Research Review. 31, 100336.
Stripling, Barbara. (2009). Inquiring Minds Want to Know: Using Primary Sources to Guide Inquiry-Based Learning. Online. Retrieved October 27, 2019. from http://citeseerx. ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.832.585&rep=rep1&type= pdf
Stripling, Barbara. (2010). Teaching Students to Think in the Digital Environment: Digital Literacy and Digital Inquiry. School Library Monthly. 25 (8), 16-19.
Stripling, Barbara. (2014). Inquiry in the Digital Age. In Inquiry and the Common Core: Librarians and Teachers Designing Teaching for Learning, 93-105. Edited by Violet H. Harada and Sharon Coatney. Santa Barbara: ABC-CLIO, LLC.
van Drie, Jannet and van Boxtel, Carla. (2007). Historical Reasoning: Towards a Framework for Analyzing Students’ Reasoning about the Past. Educational Psychology Review. 20, 87-110.
van Drie, Jannet; Braaksma, Martine and van Boxtel, Carla. (2015). Writing in History: Effects of writing instruction on historical reasoning and text quality. Journal of Writing Research. 7 (1), 123-156.