เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

เกณฑ์การตีพิมพ์/รูปแบบการตีพิมพ์

1.บทความที่ส่งมาเพื่อเผยแพร่ต้องเป็นบทความที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดเท่านั้น โดยไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร รายงานหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ได้รับการตีพิมพ์

2.การพิมพ์ต้นฉบับจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ จัดพิมพ์แบบหน้าเดียว กระดาษพิมพ์ขนาด A4 (8.5×11 นิ้ว) จำนวนไม่เกิน 13 หน้า ใช้รูปแบบ Word ตัวอักษร TH SarabunPSK 14 Point

3.การตั้งระยะขอบ ให้ตั้งเป็นประเภทระยะขอบ เพื่อการเย็บเล่มหนังสือ

บน 2.54 ซม. ล่าง 2.54 ซม.

ซ้าย 3.00 ซม. ขวา 3.00 ซม.

หัวกระดาษและท้ายกระดาษ

จากขอบ หัวกระดาษ 1.5 ซม. ท้ายกระดาษ 1.5 ซม.

การใส่เลขหน้า ให้ใส่ด้านบนขวา โดยใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวปกติ

4.ข้อปฏิบัติการพิมพ์แต่ละหัวข้อ

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับหัวข้อ ดังนี้

   4.1 ชื่อเรื่อง/บทความ ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 พอยด์ ตัวหนา ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ

   4.2 ชื่อผู้เขียนบทความ ระบุชื่อผู้เขียน ผู้ร่วมวิจัย (ถ้ามี) และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 12 พอยด์ ตัวหนา ไว้ด้านขวาหน้ากระดาษ

   4.3 สังกัดผู้เขียน คณะ สังกัด/หน่วยงานของผู้ร่วม (ถ้ามี) ขนาดตัวอักษร 12 พอยด์ ไว้ที่ตำแหน่งใต้ชื่อเรื่อง ไว้ด้านขวาหน้ากระดาษ พร้อมระบุอีเมล์ผู้เขียน ที่ติดต่อในการส่งบทความ

   4.4 บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อบทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 พอยด์ ตัวหนา ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ เนื้อหาในบทคัดย่อใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 พอยด์

   4.5 คำสำคัญ (Keywords) ระบุคำสำคัญ 2-4 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไว้ท้ายบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 พอยด์ ตัวหนา

   4.6 เนื้อหา (Content) หัวข้อชิดด้านซ้ายกระดาษและใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยด์ ตัวหนา ส่วนเนื้อหาในแต่ละหัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 14 พอยด์ มีรายละเอียดดังนี้

  1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
  2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  3. กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)
  4. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
  5. วิธีดำเนินการวิจัย ระบุ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา/ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เครื่องที่ใช้ในการวิจัย การสร้างและหาคุณภาพครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล แต่ละขั้นตอนควรเขียนให้กระชับและเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม
  6. ผลการวิจัย ระบุผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์อย่างกระชับ ซึ่งอาจมีตารางหรือภาพประกอบ
  7. อภิปรายผลการวิจัย ระบุประเด็นที่สำคัญของผลการวิจัยในแต่ละวัตถุประสงค์ และอภิปรายโดยมีการอ้างอิงหรือเชื่อมโยงทฤษฎีและงานวิจัยสนับสนุน
  8. องค์ความรู้จากการวิจัย (ถ้ามี)
  9. ข้อเสนอแนะ ระบุรายละเอียดข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (ถ้ามี) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

   4.7 ตาราง (ถ้ามี) ใช้ตารางแบบเส้นคู่ ให้ระบุคำว่า “ตารางที่” ตามด้วยหมายเลขกำกับภาษาอังกฤษใช้คำว่า Table

   4.8 ภาพ (ถ้ามี) รูปภาพประกอบบทความ ควรบันทึกไฟล์รูปภาพ เป็นนามสกุล JPEG. ให้ระบุคำว่า “ภาพที่” หรือ “แผนภาพที่”ตามด้วยหมายเลขกำกับ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Figure

   4.9 การอ้างอิงในเนื้อหา ใช้ระบบ APA โดยระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์และเลขหน้า ดังตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหา ดังปรากฏรายละเอียดด้านล่างนี้

  4.10 เอกสารอ้างอิง ใช้ระบบ APA (American Psychological Association style) ดังตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิงในเอกสารอ้างอิง ดังปรากฏรายละเอียดด้านล่างนี้

บทความวิชาการ ให้เรียงลําดับหัวข้อ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract)

2) บทนํา (Introduction)

3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสําคัญที่ต้องการนําเสนอตามลําดับ

4) บทสรุป (Conclusion)

5) เอกสารอ้างอิง (References)

สําหรับการอ้างอิงเอกสารในบทความนั้นใช้ระบบ APA ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด และระบุชื่อ-นามสกุล ของผู้เขียน ปี พ.ศ. และเลขหน้า ของเอกสารที่นํามาอ้างอิงกํากับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และผู้เขียนบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นํามาอ้างอิงทั้งหมด การอ้างอิงเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสารมีรายละเอียด ดังนี้

5.ตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหา

   5.1 หนังสือ

พระไตรปิฏกและอรรถกถาให้อ้างอิงชื่อคัมภีร์/เล่มที่/ข้อที่/เลขหน้า มาด้วย ตัวอย่างเช่น

ในพระวินัยปิฎก คัมภีร์ปริวารว่าด้วยเรื่อง การถึงอคติ (ความลําเอียง) มี 4 อย่าง คือ 1) ลําเอียงเพราะชอบ 2) ลําเอียงเพราะชัง 3) ลําเอียงเพราะหลง 4) ลําเอียงเพราะกลัว และการไม่ถึงอคติ (ความไม่ลําเอียง) มี 4 คือ 1) ไม่ลําเอียงเพราะชอบ 2) ไม่ลําเอียงเพราะชัง 3) ไม่ลําเอียงเพราะหลง 4) ไม่ลําเอียงเพราะกลัว (วิ.ป. 8/324/460)

ผู้เขียน  1 คน

(สำราญ ศรีคำมูล, 2549 : 1)

(พระชินกร ทองดี, 2556 : 9)

(Bill, 2549 : 6)

ผู้เขียน 2 คน

(สำราญ ศรีคำมูล และสนิท วงศ์ปล้อมหิรัญ, 2560 : 31)

(พระชินกร ทองดี และพระมหาสุธารักษ์ เขมจิตฺฺโต, 2556 : 3)

(John and David, 1984 : 12)

ผู้เขียน 3 คน

(สนิท วงปล้อมหิรัญ และคณะ, 2559 : 22)

(John Dewey, et al., 2000 : 9)

ผู้เขียนเป็นหน่วยงาน

(มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559 : 10-15)

(Ministry of Education, 2019 : 4)

การอ้างอิงในเนื้อหา (การอ้างอิงเอกสารสองทอด)

....โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาท (Cronbach, 1974 อ้างใน ยุทธ ไกยวรรณ์, 2543 : 9) ได้ความเชื่อมั่น....

......ตามแนวคิดของเบสท์ (Best, 1978 อ้างใน ประคอง กรรณสูต, 2538)...........

หนังสือแปล

(ชูเมกเกอร์, 2557 : 15)

   5.2 งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์

  (สายัณห์ วงศ์สุรินทร์, 2549 : บทคัดย่อ)

  (พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม, 2556 : 10)

  (อาทิตย์ ชูชัย, 2557)

  (Watson, 1990 : Abstract)

   5.3 รายงานการประชุม

   (นฤมล ชุ่มเจริญสุข, 2557 : 20)

   (Anan Srita, 1990 : 45)

   5.4 วารสาร

   (สายัณห์ วงศ์สุรินทร์, 2557 : 76-85)

   (พระมหากฤษณชัย สวัสดี, 2557 : 85)

   5.5 หนังสือพิมพ์

   (สมศรี หาญอนันทสุข, 2550 : 7)

   (Krishman, 2007 : 1)

  5.6 จุลสาร แผ่นพับ และแผ่นปลิว

 (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2541)

 (Research and Training Center on Independent Living, 1993)

  5.7 โสตทัศนวัสดุ

 (กฤตสุชิน พลเสน, 2555)

  5.8 ซีดีรอม

 (อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, 2543)

 (Social Science Index, 1999)

 5.9 การสัมภาษณ์

 (ไชยยา เรืองดี, 2560, มกราคม 14)

 (Born, 1990, June 15)

 5.10 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์

(สำนักงานหอสมุดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554 : ออนไลน์ )

(Kenneth, 1998 : Online)

หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

(ซูม, (นามแฝง), 25 ตุลาคม 2542)

(ศธ. ยุติการถ่ายโอนสถานศึกษาบัญชี 2, 2550)

เอกสารจากเวิล์ไวด์เว็บ (www.)       

(ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ม.ป.ป. : ออนไลน์)

 (Ministry of Education, 2005 : Online)

(ยืนยง ราชวงษ์, 2549 : ออนไลน์)

การอ้างอิงราชกิจจานุเบกษา

(พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562, 2562)

รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง

   6.1 ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

การเขียนเอกสารอ้างอิง เรียงลำดับตามตัวอักษรภาษาไทยก่อน ตามด้วยการอ้างอิงภาษาอังกฤษ การเคาะเว้นวรรค 1 ครั้ง ในรายการที่สองไม่ต้องพิมพ์ชื่อผู้เขียน ให้ขีดเส้นเข้าไป 0.5 นิ้ว หรือ 1.27 ซม. หรือประมาณ 7 ตัวอักษร แล้วตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) เช่น

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

_______. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บรรทัดแรกของเอกสารอ้างอิงแต่ละเรื่อง อักษรตัวแรกห่างจากริมกระดาษด้านซ้าย 3.00 ซม. บรรทัดที่สองและบรรทัดต่อๆ ไป ให้ย่อหน้าโดยเว้นอีก 0.5 นิ้ว หรือ 1.27 ซม. เช่น

สายัณห์ วงศ์สุรินทร์ และคณะ (2557). การศึกษาองค์ประกอบความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม                                  แผนกสามัญศึกษา. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 16 (1), 76-85.

   6.2 ตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิงในเอกสารอ้างอิง

1. หนังสือ

ผู้เขียน 1 คน

สมพงษ์ ชูมาก. (2548). กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โอเดียสโตร์.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2548). วิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พระมหาณรงค์ กนฺตสีโล. (2548). จุดเด่นของพระพุทธศาสนา. เชียงใหม่ : บริษัททริโอแอดเวอร์
ซึ่งแอนมีเดีย จำกัด.

นิศา ชูโต. (2545). การจัดการภายในองค์กร ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารจัดการทั่วไป.

นนนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Wilson, K. (2007). Smart choice. 2nd ed. London : Oxford University Press.

ผู้เขียน 2 คน

ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพรม. (2555). พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายศ. (2542). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

Best, J. W. and Kahn, J. V. (1986). Research in Education. 5th ed. New Jersey : Prentice-Hall.

ผู้เขียน 3 คน

ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2547). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.

อวยพร พานิช และคณะ. (2548). ภาษาและหลักการเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Sadlack, R. G., et al. (1992). Social Reserch : Theory and Methods. Chestnut : Hill Enterprises.

ผู้เขียนเป็นหน่วยงาน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). การปฏิรูปการเรียนตามแนวคิด 5 ทฤษฎี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไอเดียสแควร์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

หนังสือแปล

 ชูเมกเกอร์, อี. เอฟ. (2557). จิ๋วแต่แจ๋ว : เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ [Small is beautiful]. พิมพ์ครั้งที่ 4. (สมบูรณ์ ศุภศิลป์, แปล). นนทบุรี : สมิต. (ต้นฉบับ พิมพ์ ค.ศ. 1973).

แบรี่ สมาร์. (2555). มิเชล ฟูโกต์ [Michel Foucault]. (จามะรี เชียงทอง และสุนทร สราญจิต, แปล). กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (ต้นฉบับ พิมพ์ปี ค.ศ. 1994).

2. ราชกิจจานุเบกษา

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. (2547, 1 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก. 1-24.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2549. (2549, 1 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 123 ตอนที่ 54 ง. 89-109.

3. งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ /รายงานการวิจัย

สุชาติ อ่อนสร้อย. (2559). การศึกษาวิเคราะห์วัตตบท 7 ในคัมภีร์ขุททกนิกายธรรมบท. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พวงเพชร พลทอง และคณะ. (2553). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระครูวิจิตรธรรมวิภัช (บุญเลิศ ปญฺญาวุโธ). (2562). การพัฒนาการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พินิจ ทิพย์มณี. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Kasemsri, K. (2005). Participatory Communication in City Radio FM 96.0. Master of Science Thesis in Development Communication, Graduate Kasetsart University.   

4. สัมมนา/ประชุมวิชาการ

ประดิษฐ์ มีสุข และทรงธรรม ธีระกุล. (2551). วิกฤตคุณภาพบัณฑิตศึกษากับบทบาทมหาวิทยาลัย. หนังสืองานทักษิณวิชาการ’51 “มหาวิทยาลัย ทักษิณกับทางแก้วิกฤตของชาติ”. ใน โครงการทักษิณวิชาการมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ระหว่างวันที่ 16–19 สิงหาคม 2551 (หน้า 119-143). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา.

Nicolaou, A.A. and Pitta Pantazi. (2011). A new theoretical model for understanding fractions at the elementary school. Proceedings of the seventh congress of the Duropean Socidty for research in mathemtics education (CERME 7), pp. 366-375. Poland : University of Rzeszow.

5. วารสาร

สายัณห์ วงศ์สุรินทร์ และคณะ. (2557). การศึกษาองค์ประกอบความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 16 (1), 76-85.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม และคณะ. (2560). วิเคราะห์คุณธรรมและคุณค่าที่ปรากฏในการเทศนามหาชาติ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13 (1), 124.

Elstad, E., and Christophersen, K. (2017). Perceptions of Digital Competency among Student Teachers : Contributing to the Development of Student Teachers’ Instructional Self-Efficacy in Technology-Rich Classrooms. Education Science, 7 (27), 1-15.

Suwanroj, T., et al. (2019). Confirmatory Factor Analysis of the Essential DigitalCompetencies for Undergraduate Students in Thai Higher Education Institutions. Journal of Technology and Science Education, 9 (3), 340-356.

Tsarapkina, J., et al. (2021). The Formation of Bachelors' Digital Competencies at the University. Journal of Educational Psychology, 9 (1), 1-10.

6. หนังสือพิมพ์

สมศรี หาญอนันทสุข. (2550, มิถุนายน 26). ฤารัฐธรรมนูญใหม่จะสร้างมิติใหม่ให้สังคมพุทธ. มติชน, 7.

Krishman, E. (2007, June 26). Rebuilding seft-esteem. Bangkok post, 1.

7. จุลสาร แผ่นพับ และแผ่นปลิว

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2541). ท่องเที่ยวสงขลา. [แผ่นพับ]. สงขลา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

Research and Training Center on Independent Living. (1993). Guidelines for reporting and writing about people with disabilities. Lawrence : Research and Training Center on Independent Living.

8. โสตทัศนวัสดุ

กฤตสุชิน พลเสน (ผู้บรรยาย). ปรัชญา. [แถบบันทึกเสียง]. พระนครศรีอยุธยา : มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย.

9. ซีดีรอม

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. (2543). [CD-ROM]. Available : ฐานข้อมูลไปดูให้เต็มตาล้ำค่าความเป็นไทย. [2544, มิถุนายน 23].

Social Science Index. (1999). [CD-ROM]. Available : UMI/Social Science Index. [2005, June 26].

10. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

สำนักงานหอสมุดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2554). รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม. [Online]. Available : http://library.bu.ac.th/help/libmanuals/other/write_APA_Thai.pdf. [2555, กุมภาพันธ์ 19].

Abell, S. K. (2002). Science teacher education : An international perspeetive. [Online]. Available : http://ebook Sprinkerlink.com/Search/Search Result.aspx?. [2005, August 20].

11. วารสารอีเล็กทรอนิกส์

ยุทธศิลป์ อร่ามศรี. (2558). ‘ปรัชญาไทย’ ของวิธาน สุชีวคุปต์และสนธิ์ บางยี่ขัน. วารสารวิจัยรามคําแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 18 (1), 36-44. Available : http://www.rd.ru.ac.th/images/PDF/ Journal/03%20SO%2018-58.pdf. [2565, กันยายน 5].

Kenneth, I. (1998). A Buddhist response to the nature of human rights. Journal of Buddhist Ethies, [Online]. 2 (9), Available : http://www.cas.psu.edu/Jbe/twocont.html. [2006, August 12].

Pereira, J., Varajão, J., and Takagi, N. (2022). Evaluation of Information Systems Project Success–Insights from Practitioners. Information Systems Management, 39 (2), 138–155. https://doi.org /10.1080/10580530.2021.1887982. 

12. หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

ซูม. (นามแฝง). (2542, ตุลาคม 25). บุญของคนไทย ใน ไทยรัฐ. [Online]. Available : http://www.thairath.co.th. [2542, ตุลาคม 25].

ศธ. ยุติการถ่ายโอนสถานศึกษาบัญชี 2, (2550, มิถุนายน 23). ใน ไทยรัฐ. [Online]. Available : http://www.thairath.co.th. [2550, ตุลาคม 30].

13. เอกสารจากเวิล์ไวด์เว็บ (www)

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (ม.ป.ป.). การจัดการศึกษาทางไกล. [Online]. Available : http://www.nectec.or.th/eourseware/cai/0015.htm. [2550, สิงหาคม 1].

Ministry of Education. (2005). The Regional Seminar on Higher Education in Southeast Asian Countries. [Online]. Available : http://www.nectec.or.th/eourseware/cai/0015.htm. [2006, June 1].

14. การสัมภาษณ์

ไชยยา เรืองดี. (2560, มกราคม 14), ผู้ช่วยอธิการบดี, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. สัมภาษณ์.

Born, Q. (1990, June 15). President, Standard University. Interview.