ศึกษาวิเคราะห์ขันติธรรมที่ปรากฏในจันทชาดก

Main Article Content

จ่าสิบเอกสมศักดิ์ แย้มจันทึก
ทวี เลียวประโคน
สำราญ โคตรสมบัติ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาขันติธรรมที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาขันติธรรมที่ปรากฏในจันทชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าขันติธรรมที่ปรากฏในจันทชาดก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลคือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) คือจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2539 และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) ได้แก่ งานเขียนทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาและนักวิชาการสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงสารานุกรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง และมีข้อมูลจากเว็บไซด์ต่างๆ ประกอบด้วย รวมทั้งอรรถกถาและฎีกาต่างๆ อันเป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท   


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ขันติธรรม ตามความหายของพระพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความอดทน คือความอดกลั้นอันเป็นตบะอย่างยิ่ง ตบะหรือเครื่องมือในการเผาผลาญกิเลสที่ถูกต้องได้แก่ ขันติ คือความอดทน ความทนทานต่อสิ่งที่เข้ามากระทบกระทั่งกาย

  2. ขันติธรรมที่ปรากฏในจันทกุมารชาดก เป็นเรื่องราวในอดีตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญขันติบารมีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ขันติบารมี หมายถึง ความอดทนที่จะชำระกิเลสในตัว เป็นคุณธรรมที่รักษาใจให้เป็นปกติ ไม่หวั่นไหวต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนไม่หวั่นไหวต่อคำสรรเสริญและนินทา เหมือนดั่งแผ่นดิน ที่ผู้คนทิ้งสิ่งของทั้งสะอาดและสกปรกลงมา แต่แผ่นดินก็ไม่เคยขัดเคือง ในพระชาตินี้ พระโพธิสัตว์ทรงบังเกิดเป็น“พระจันทกุมาร” ทรงบำเพ็ญขันติบารมีด้วยความอดทนอย่างไม่มีขีดจำกัดยอมสละตนเองเพื่อช่วยผู้อื่นให้พ้นภัย การสร้างขันติบารมีของพระองค์จึงเข้าทำนองว่า “ยอมตาย ไม่ยอมแพ้” คือ ไม่ยอมแพ้ต่อความชั่วนั่นเอง

  3. อานิสงส์ของขันติในอภัยทานคือตายไปแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลกในอิสสัตถสูตรมีว่า “ธรรมคือขันติและโสรัจจะตั้งอยู่ในบุคคลใดบุคคลพึงบูชาบุคคลนั้นผู้มีปัญญามีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะแม้มีชาติตระกูลต่ำฉันนั้นเหมือนกัน” จากอิสสัตถสูตรสรุปได้ว่า ขันติในอภัยทานมีอานิสงส์ว่าเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนทั่วไปมีชื่อเสียงขจรไกล ในอังคุลิมาลสูตรสรุปได้ว่าขันติในอภัยทานมีอานิสงส์ว่าเป็นการยุติผลกรรมหรือตัดเวรตัดกรรมข้ามภพข้ามชาติในคาถาธรรมบทมีว่า “ของไม่สะอาดมีน้ำลายเป็นต้นเหล่านั้นอันบุคคลล้างด้วยน้ำที่ใสย่อมหายหมดได้ที่นั้นย่อมเป็นที่หมดจดไม่มีกลิ่นเหม็นฉันใดๆเวรทั้งหลายย่อมระงับคือย่อมสงบได้แก่ย่อมถึงความไม่มีด้วยความไม่มีเวรคือด้วยน้ำคือด้วยขันติและเมตตา”

Article Details

บท
บทความวิจัย